วิ่ง ออกกำลังกายแล้ว “ วูบ ” ระวังภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

January 24 / 2025

 

วิ่ง ออกกำลังกายแล้ว “ วูบ ” ระวังภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน

 

หัวใจวายเฉียบพลัน

  

 

     ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันหรือหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือภาวะที่หัวใจหยุดเต้นอย่างปัจจุบันทันด่วน ทำให้ไม่มีเลือดออกจากหัวใจไปเลี้ยงสมองและร่างกาย ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยหมดสติ ล้มลง หยุดหายใจหรือหายใจเฮือก บางครั้งอาจมีอาการเกร็งกระตุกเนื่องจากสมองขาดอออกซิเจน ทั้งนี้ผู้เห็นเหตุการณ์อาจเข้าใจผิดว่าเป็นโรคลมชักได้ ซึ่งจัดว่าเป็นภาวะวิกฤตที่ต้องรีบกู้ชีวิตผู้ป่วย

 

 

หัวใจวายเฉียบพลัน

 

 

 

การประเมินสถานการณ์ก่อนการกู้ชีพ

     ขณะเดินออกกำลังกาย เห็นคนนอนอยู่ที่พื้นจะรู้ได้อย่างไรว่านอนหลับเฉย ๆ หรือหัวใจวายเฉียบพลัน ต้องการการกู้ชีวิตให้ประเมินดูสภาพแวดล้อมว่าคนที่หลับตามหลับปกติจะมาหลับบริเวณนี้ ในลักษณะนี้หรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจ ให้รีบประเมินลักษณะสำคัญสามอย่างของหัวใจวายเฉียบพลัน คือ

 

  • หมดสติเรียกไม่รู้สึกตัว 
  • หัวใจหยุดเต้นคลำชีพจรไม่ได้และ
  • หยุดหายใจหน้าอกไม่ขยับขึ้นลง ไม่มีลมเคลื่อนเข้าออกผ่านจมูก

 

 


นอกจากนี้อาจมีลักษณะอื่น ๆ เช่น ใบหน้าหรือริมฝีปากเขี้ยวคล้ำจากการขาดออกซิเจน


 

 

 

หัวใจวายเฉียบพลัน

 

 

ใครเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันบ้าง

     ภาวะหัวใจวายเฉียบพลันเกิดกับใครก็ได้ทั้งคนที่มีโรคหัวใจอยู่เดิมหรือคนที่ไม่มีโรคหัวใจ ข้อมูลพบว่า 2 ใน 3 ของคนที่เกิดหัวใจวายเฉียบพลันจะเป็นคนที่แข็งแรงอยู่ก่อน เราจึงได้ยินข่าวเสมอถึงการเสียชีวิตเฉียบพลันในนักกีฬาหรือคนหนุ่มวัยฉกรรจ์ และที่สำคัญคือการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันจะเกิดขึ้นเวลาใดก็ได้ ที่ไหนก็ได้ คือไม่เลือกเวลา ไม่เลือกสถานที่ อาจเกิดในห้องน้ำ ในห้องนอน ตลาด รถไฟฟ้า สวนสาธารณะ ข้อมูลพบว่า 2 ใน 3 เกิดในบ้าน ซึ่งเป็นสถานที่ที่การกู้ชีวิตทำได้ยาก จึงมีโอกาสรอดชีวิตต่ำมาก

 

หัวใจวายเฉียบพลันในนักกีฬาพบได้บ่อยหรือไม่

     อุบัติการณ์การเกิดหัวใจวายเฉียบพลันในนักกีฬาแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยทั่วไปจะพบประมาณ 0.1-0.8 รายต่อนักกีฬา 100,000 รายต่อปี ซึ่งยังถือว่าต่ำมากเมื่อเทียบกับการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ แต่เมื่อเกิดแล้วจะได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจึงมีผลกระทบต่อสังคมอย่างมาก เนื่องจากคนเชื่อว่านักกีฬาควรเป็นคนที่แข็งแรงที่สุดก็ยังเกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้...แล้วคนธรรมดาที่ไม่ใช่นักกีฬาจะเป็นอย่างไร...ในเมื่อเป็นแบบนี้แล้วเราจะออกกำลังกายไปทำไม...

 

 

 

หัวใจวายเฉียบพลัน

 

 

กีฬาแต่ละประเภทมีความเสี่ยงเท่ากันหรือไม่

     กีฬาที่เกิดหัวใจวายเฉียบพลันได้บ่อยมักเป็นกีฬาที่ทำให้หัวใจต้องทำงานหนัก หัวใจจะบีบตัวแรงและเร็วเพื่อไปเลี้ยงร่างกายให้เพียงพอในขณะเล่นกีฬา เช่น บาสเก็ตบอล ฟุตบอล วิ่งมาราธอน นอกจากนี้ กีฬาที่มีโอกาสกระทบกระทั่งกันมาก ๆ เช่น รักบี้ อเมริกันฟุตบอล บางครั้งอาจมีการกระแทกหน้าอกอย่างแรงทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรงและเสียชีวิตได้ (Commotio cordis) การวิ่งมาราธอนก็มักเกิดเหตุการณ์ในระยะ 5 กิโลเมตรสุดท้ายก่อนถึงเส้นชัย เนื่องจากนักวิ่งมีการอ่อนล้าแล้วและมีการเร่งเพื่อให้เข้าถึงเส้นชัย

 

 


การขาดน้ำและเกลือแร่จากการเสียเหงื่ออาจเป็นปัจจัยเสริมให้เกิด กีฬาเบา ๆ เช่น กอล์ฟ วิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยานจะพบน้อยกว่า นอกจากนี้คือจะพบในนักกีฬาชายมากกว่านักกีฬาหญิง


 

 

 

หัวใจวายเฉียบพลันหัวใจวายเฉียบพลันหัวใจวายเฉียบพลันหัวใจวายเฉียบพลัน

 

 

 

สาเหตุของหัวใจวายเฉียบพลันในนักกีฬา

     ถ้าอายุมากกว่า 35 ปีส่วนใหญ่เกิดจากโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ถ้าอายุน้อยกว่า 35 ปี ผู้ป่วยมักจะมีโรคหัวใจที่ผิดปกติแต่กำเนิดหลบซ่อนอยู่ เช่นกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติชนิดต่าง ๆ เช่น hypertrophic cardiomyopathy, arrhythmogenic right ventricular cardiomyopathy โรคหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ โรคระบบไฟฟ้าหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด เช่น long QT syndrome, WPW syndrome, Brugada syndrome เป็นต้น

 

วิธีป้องกันหัวใจวายเฉียบพลันในนักวิ่ง

มาตรการที่กล่าวต่อไปนี้สามารถใช้ได้กับการเล่นหรือแข่งขันทุกประเภท โดยมีมาตราการหลัก 3 ข้อด้วยกัน 

 

1.  ตรวจคัดกรอง

     เราควรตรวจคัดกรองให้แก่ผู้เป็นนักกีฬาหรือผู้จะเข้าร่วมการแข่งขัน (Preparticipation screening) ทั้งนี้ ผู้ที่จะเข้าเป็นนักกีฬาสมัครเล่นหรืออาชีพ ควรได้รับการตรวจหาพื้นฐานโรคหัวใจและความเสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน โดยเฉพาะผู้มีปัจจัยเสี่ยง เช่น อายุมากกว่า 35 ปี สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มีประวัติโรคหัวใจ ญาติหรือคนในครอบครัวเสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหัวใจ

 

Exercise Stress Test

     แพทย์จะเริ่มซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรืออาจตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจที่เรียกว่า Echo cardiogram กรณีที่นักกีฬามีอายุมากกว่า 35 ปีหรือสงสัยว่ามีภาวะหลอดเลือดหัวใจผิดปกติ แพทย์อาจส่งตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลัง ที่รู้จักกันดีว่า  

 

2.  มีมาตรการรับมือภาวะฉุกเฉิน

     ผู้รับผิดชอบนักกีฬาเช่นผู้ปกครอง เจ้าของทีมหรือเจ้าของสถานที่ฝึกซ้อมหรือแข่งขันต้องจัดให้มีการปฏิบัติการกู้ชีพที่มีประสิทธิภาพซึ่งต้องมี “เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า” ที่เรียกย่อ ๆ ว่า AED รวมอยู่ด้วยให้พร้อมอยู่เสมอ ซึ่งสามารถปฏิบัติการกู้ชีพได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์ ขั้นตอนนี้พบว่ามีความสำคัญเพราะสามารถลดอัตราการตายลงได้มาก

 

3.  รู้และเข้าใจวิธีป้องกันการเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน

     สุดท้ายคือ ต้องให้ความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางการป้องกันการเกิดหัวใจวายเฉียบพลันแก่นักกีฬาเอง บางครั้งก่อนเกิดเหตุอาจมีอาการเตือนหรือผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ นำมาก่อน เช่นแน่นหน้าอก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ แต่นักกีฬาอาจละเลยไม่สนใจ เนื่องจากขาดความรู้หรือกลัวอดลงแข่งขัน

 

อุปกรณ์บันทึกการเต้นของหัวใจชนิดติดตัว

     ปัจจุบันได้มีการติดตามการเต้นของหัวใจของนักวิ่งด้วยอุปกรณ์บันทึกการเต้นของหัวใจชนิดติดตัว ลักษณะเหมือนแผ่นพลาสเตอร์ปิดแผลขนาดใหญ่ซึ่งสามารถทนน้ำ-ทนเหงื่อ และบันทึกการเต้นของหัวใจขณะมีการเคลื่อนไหวได้  เมื่อวิ่งเสร็จก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์ดูว่าตลอดการวิ่งพบหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจขาดเลือดหรือไม่ เพื่อจะได้วางแผนการดูแลรักษาต่อไป บางงานวิจัยติดตามการเต้นแบบ real time โดยส่งข้อมูลการเต้นของหัวใจคนไข้ผ่านระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ต ระบบ 4G/Wi-Fi เมื่อพบความผิดปกติ ทีมแพทย์ก็จะแจ้งเตือนไปที่ตัวนักกีฬาให้ลดความเร็วลงหรือให้หยุด หรือส่งทีมแพทย์เข้าไปให้การรักษาได้ทันที

 

ข้อจำกัดทางเทคโนโลยี

     แต่ยังมีข้อจำกัดทางเทคโนโลยีอยู่บ้างสำหรับการส่งสัญญาณชีพแบบ real time ในบริเวณที่มีคนอยู่จำนวนมากทั้งนักวิ่งทั้งผู้เข้าชมและมีการใช้ช่องสัญญาญอินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้การติดตามหาตัวนักวิ่งที่มีหัวใจเต้นผิดจังหวะท่ามกลางนักวิ่งจำนวนมากก็ทำได้ลำบาก คงต้องใช้เทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น โดรนมาช่วย

 

 

หัวใจวายเฉียบพลัน

 

 

AED คืออะไร

     AED (Automated External Defibrillator) นั้นคือเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ ซึ่งใช้สำหรับกู้ชีวิตผู้ป่วยที่เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันจากหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้วหรือเต้นเร็วขึ้นรุนแรง หรือทางการแพทย์เรียกว่า Ventricular tachycardia/Ventricular fibrillation เมื่อเปิดใช้งาน เครื่องจะวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจโดยอัตโนมัติ และแนะนำให้ผู้ใช้กดปุ่มเพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าออกไปเพื่อกระตุกหัวใจให้กลับมาเต้นเป็นปกติ

 

 

หัวใจวายเฉียบพลัน

 

 

     กรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้หัวใจวายเฉียบพลันจากภาวะหัวใจห้องล่างเต้นพลิ้ว แต่เกิดจากหัวใจหยุดเต้นเอง หัวใจไม่มีการบีบตัวเครื่อง ซึ่งแพทย์ไม่แนะนำให้ช็อต แต่จะแนะนำให้ปั๊มหัวใจต่อไป โดยให้เครื่องเป็นตัวให้จังหวะการปั๊มของหัวใจและวิเคราะห์การเต้นของหัวใจทุก 2 นาที

 

ข้อดีของเครื่อง AED

     เนื่องจากเครื่องได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานง่าย บุคคลทั่วไปที่ไม่รู้จักเครื่องก็สามารถทำตามขั้นตอนที่เครื่องแนะนำได้ง่าย อย่างไรก็ตาม การฝึกฝนให้รู้จักและใช้งานได้จะทำให้สามารถกู้ชีพได้เร็วและดีกว่า การใช้เครื่อง AED ร่วมกับการปั๊มหัวใจที่มีประสิทธิภาพจะเพิ่มโอกาสรอดชีวิต 2-3 เท่า

 

 

สล็อต