ผ่าตัดไซนัสแบบส่องกล้อง แผลเล็ก เจ็บน้อย ทางเลือกใหม่ปลอดภัยขึ้น

April 08 / 2025

ผ่าตัดไซนัส

 

 

     การผ่าตัดไซนัสไม่ใช่เรื่องไกลตัวเพราะทุกคนมีโอกาสที่จะเป็นได้ ดังนั้นจึงขออธิบายก่อนว่า “ไซนัส” (Sinus) คือ โพรงอากาศของกะโหลกที่อยู่บริเวณข้าง ๆ โพรงจมูก มีทั้งหมด 4 คู่หลักทั้งด้านซ้ายและด้านขวาบริเวณแก้ม หน้าผาก หักตา และฐานกะโหลก 

 

การผ่าตัดไซนัสแบบส่องกล้อง

     การผ่าตัดไซนัสแบบส่องกล้อง (Endoscopic Sinus Surgery : ESS) คือการผ่าตัดด้วยการใช้กล้องเอ็นโดสโคปเพื่อรักษาโรคไซนัสและโรคต่าง ๆ ในโพรงจมูกซึ่งรวมถึงอวัยวะใกล้เคียง เพื่อให้ศัลยแพทย์มองเห็นภาพสรีระ โดยเฉพาะบริเวณที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าและมองเห็นแนวของโรคได้อย่างชัดเจน วิธีดังกล่าวช่วยให้แพทย์สามารถประเมินความรุนแรงของโรคและวางแผนการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับผู้ป่วย

 

 


เนื่องจากเป็นการผ่าตัดผ่านรูจมูก โดยส่วนใหญ่ผู้รับการรักษาจึงไม่มีแผลผ่าตัดที่บริเวณผิวหนังด้านนอก ยกเว้นกรณีของโรคมีความรุนแรง หรือรอยโรคอยู่ในตำแหน่งที่มีความซับซ้อน ก็อาจเกิดแผลบริเวณผิวหนังได้เล็กน้อยแล้วแต่กรณี


 

 

 

 

ผ่าตัดไซนัส

 

 

การผ่าตัดไซนัสด้วยการส่องกล้องแบบเปิดหมด (Full House FESS)

     โดยปกติร่างกายจะระบายไซนัสยออกทางรูระบายซึ่งต่อกับโพรงจมูกตามกลไกธรรมชาติ แต่เมื่อไซนัสเกิดการอักเสบหรืออุดตัน ทำให้ไม่สามารถระบายไซนัสออกได้ จึงเกิดเป็น โรคไซนัสอักเสบ ซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจและการรับกลิ่น ปัจจุบันการรักษาไซนัสอักเสบอย่างมีประสิทธิภาพและลดอัตราการเกิดซ้ำได้ที่สุดคือการผ่าตัดรักษาไซนัสส่องกล้องแบบเปิดหมด หรือที่เรียกว่า "Full House FESS"

 

   ปัจจุบันมีการผ่าตัดแบบ “Full House FESS” หรือ “การผ่าตัดไซนัสแบบเปิดหมด" เป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องเข้าทางจมูกเพื่อเปิดโพรงไซนัสทั้งหมดให้เชื่อมต่อกับโพรงจมูก โดยยังคงหน้าที่การทำงานของไซนัสไว้ ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีที่สามารถระบายอากาศของไซนัสได้ดีที่สุด ทั้งยังสามารถระบายหนองและเชื้อราออกจากไซนัสได้อย่างเต็มที่ เพื่อช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำ รวมถึงสามารถให้ยาพ่นหรือล้างจมูกเพื่อขจัดการอักเสบและลดอาการการแพ้ได้เต็มที่ในกรณีที่เป็นภูมิแพ้หรือริดสีดวงจมูก

 

 

 

ผ่าตัดไซนัส

 

 

เมื่อไหร่จึงควรรีบพบแพทย์

เมื่อไหร่จึงควรรีบพบแพทย์ ตอบได้เลยว่าหลาย ๆ คนยังคงมีความเข้าใจผิด เพราะแม้อาการของโรคไซนัสอักเสบจะคล้ายอาการหวัด ผู้ป่วยมักคิดว่าเดี๋ยวก็หายเอง แต่ถ้าหากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้อาการแย่ลง

 

  • คัดจมูก น้ำมูกข้นมีสีเขียว น้ำมูกปนเลือด
  • ปวดตึงศีรษะ หรือบริเวณใบหน้า หัวตา หน้าผาก โหนกแก้มหรือท้ายทอย
  • ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หรือความสามารถในการรับกลิ่นลดลง

 

 

ติดต่อนัดพบแพทย์

 

 

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัดไซนัส

     การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดไซนัส ผู้ป่วยควรพักผ่อนให้เพียงพอและเตรียมตัวก่อนผ่าตัด 1 วัน ส่วนถ้าเกิดคำถามต่อว่าผ่าตัดไซนัส พักฟื้นกี่วัน โดยปกติการพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลังผ่าตัดใช้เวลา 1-2 วันหากไม่มีภาวะแทรกซ้อน 

 

ความเสี่ยงจากการผ่าตัดไซนัส

     เนื่องจากโพรงจมูกและไซนัสอยู่ใกล้กับกระบอกตา เส้นประสาทตาและหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงสมอง ความเสี่ยงอาจเกิดขึ้นระหว่างการผ่าตัด โดยพบความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บต่อลูกตาและการเกิดน้ำในสมองรั่วเข้ามาในโพรงจมูกประมาณ 1% และความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทตาและเส้นเลือดแดงใหญ่ประมาณ 0.1% ปัจจุบันมีการนำเครื่องนำวิถีในการผ่าตัด (navigator) มาใช้เพื่อให้การผ่าตัดปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

 

ผ่าตัดไซนัส

 

 

 

ข้อควรปฏิบัติหลังการผ่าตัดไซนัส

  • หลังผ่าตัดจะมีวัสดุห้ามเลือดไว้ในโพรงไซนัส ทำให้คนไข้ยังหายใจทางจมูกได้
  • อาจจะมีเลือดไหลออกมา เวลาลุกนั่งหรือก้มใน 1-2 วันแรกได้ มักเป็นเลือดเก่าปนกับน้ำยาที่ใช้ล้างในโพรงไซนัสเทออกมา
  • หลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรง ๆ การแคะและการกระทบกระเทืองบริเวณจมูก การไอแรง ๆ การออกแรงต่าง ๆ หรือการยกของหนัก
  • ไม่ต้องล้างจมูก จะมียาพ่นเพื่อทำความสะอาดแผลในโพรงจมูกไซนัส

 

 


การปฏิบัติตนหลังการผ่าตัดอย่างถูกวิธี มีผลช่วยให้การรักษาประสบความสำเร็จดียิ่งขึ้น และช่วยให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดหายเป็นปกติอย่างรวดเร็ว โดยผู้ป่วยควรมาพบแพทย์ตามคำสั่ง เพื่อติดตามผลการรักษาและอาการอย่างต่อเนื่อง


 

 

 

 

ผ่าตัดไซนัส

 

 

คำถามที่พบบ่อย (FAQs)

1.  “เป็นไซนัส” มีอาการอย่างไร ?

     “ไซนัส” คือโพรงอากาศของกะโหลกซึ่งมีรูระบายเปิดเข้าไปในช่องจมูกมีอยู่ 4 คู่หลัก อยู่ตรงแก้ม หน้าผาก หัวตาและฐานกะโหลกและถ้ามีหนองในโพรงอากาศของกะโหลก ก็คือการเป็น “ไซนัสอักเสบ”

 

2.  เป็นแค่หวัดหรือไซนัสอักเสบ ?

     หากผู้ป่วยมีอาการหวัด สังเกตว่ามีไข้ แน่นจมูก น้ำมูกข้นเหนียวหรือมีอาการปวดตึงบริเวณใบหน้า หัวตา หน้าผากหรือแก้มก็เป็นสัญญาณแรกที่ควรสังเกต หากมีแนวโน้มแย่ลงหลังจาก 3-4 วัน เป็นเรื้อรังนาน 7-10 วัน หรือมีอาการดีขึ้นในช่วงแรกแล้วกลับแย่ลง ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคไซนัสอักเสบได้

 

 

ติดต่อนัดพบแพทย์

 

 

3.  การผ่าตัดไซนัส อันตรายมากไหม ?

     ปัจจุบันมีการผ่าตัดแบบ “Full House FESS” หรือ “การผ่าตัดไซนัสแบบเปิดหมด" เป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องเข้าทางจมูกเพื่อเปิดโพรงไซนัสทั้งหมดให้เชื่อมต่อกับโพรงจมูก โดยยังคงหน้าที่การทำงานของไซนัสไว้ ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีที่สามารถระบายอากาศของไซนัสได้ดีที่สุด ทั้งยังสามารถระบายหนองและเชื้อราออกจากไซนัสได้อย่างเต็มที่ เพื่อช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำ รวมถึงสามารถให้ยาพ่นหรือล้างจมูกเพื่อขจัดการอักเสบและลดอาการการแพ้ได้เต็มที่ในกรณีที่เป็นภูมิแพ้หรือริดสีดวงจมูก

 

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ อาทิเช่น

 

  • วิธีการผ่าตัด 
  • ความชำนาญของแพทย์
  • สภาพร่างกาย โรคของผู้ป่วยและโครงสร้างกายวิภาคของจมูกและไซนัสของผู้ป่วย

 

โดยในประเทศไทยมีแพทย์ที่ชำนาญการณ์ด้านการผ่าตัดแบบ “Full House FESS” จำนวนไม่มากเนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่จำเป็นต้องอาศัยความรู้ และทักษะของแพทย์ที่มีประสบการณ์ในการผ่าตัดอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ควรเลือกแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทาง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดในบริเวณใกล้กับฐานกะโหลกและลูกตานั่นเอง

 

 

 

ผ่าตัดไซนัส

 

 

4.  Full House FESS ต่างกับ ESS อย่างไร ?

     Full House FESS คือการผ่าตัดไซนัสทุกไซนัส โดยเปิดทั้งหมดเชื่อมต่อกันเป็นส่วนเดียว โดยการส่องกล้องเป็นการผ่าตัดไซนัสที่มีประสิทธิภาพในปัจจุบัน กล่าวคือ ESS คือการผ่าตัดไซนัสโดยการส่องกล้อง จะเปิดหมดหรือไม่หมดก็ได้ แต่โดยทั่วไปจะมีความหมายว่า ผ่าตัดเปิดไซนัสบางส่วนเท่านั้น

 

5.  ทำไมผ่าตัดไซนัสครั้งเดียวไม่หาย ต้องผ่าซ้ำหลายครั้ง ?

"ผ่าตัดไซนัส หายขาดไหม" เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยมักกังวลใจ แต่ความจริงแล้วการผ่าตัดไซนัสซ้ำอาจเกิดจากการรักษาที่ไม่สมบูรณ์จากการผ่าตัดครั้งก่อน โดยมีสาเหตุหลักต่าง ๆ ดังนี้

 

  • การผ่าตัดเปิดไซนัสแค่บางส่วน ทำให้ไซนัสที่ไม่ได้ถูกเปิดยังคงมีการอักเสบอุดตันอยู่ โดยผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นในระยะแรก แล้วกลับมาเป็นซ้ำ
  • การผ่าตัดรูเปิดไซนัสผิดตำแหน่ง
  • รูเปิดไซนัสตีบแคบและอุดตันเนื่องจากแผลเป็นจากการผ่าตัดแบบเจาะ ๆ ดูด ๆ
  • แผลเรื้อรังจากการผ่าตัดครั้งก่อน ทำให้ปิดการระบายอากาศของไซนัส
  • ลักษณะโครงสร้าง หรือผนังกั้นจมูกของผู้ป่วยผิดปกติ และไม่ได้รับการแก้ไขจากการผ่าตัดครั้งก่อน ทำให้การระบายอากาศของไซนัสไม่ดี

 

 

ผ่าตัดไซนัส

 

 

6.  ภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นไซนัสที่รุนแรง

ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังนี้

 

  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นภาวะติดเชื้อซึ่งทำให้เยื่อหุ้มสมองและน้ำเลี้ยงไขสันหลังบวมอักเสบ
  • โรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ หรือการอักเสบของผิวหนังและเนื้อเยื่อ
  • ปัญหาด้านสายตาจากการติดเชื้อในเบ้าตา ทำให้การมองเห็นลดลง หรือสูญเสียการมองเห็นชั่วคราวหรือถาวร

 

 

สัญญาณเตือนเมื่อเริ่มเป็นไซนัสอักเสบคืออะไร ?

     อาการของไซนัสอักเสบพบได้ตั้งแต่แบบไม่รุนแรงจนถึงอาการรุนแรงมาก โดยผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรงจะมีอาการคัดจมูก เสียงอู้อี้ มีเสมหะ ไอตลอดเวลา หรืออาจได้กลิ่นเหม็นในโพรงจมูกและได้รับกลิ่นน้อยลงจากเดิม ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจมีอาการปวดตึงบริเวณใบหน้า หน้าผาก หัวตา หรือโหนกแก้ม บางรายมีอาการปวดฟันกรามด้านบน ซึ่งอาจมีไข้ร่วมหรือไม่ก็ได้ และในรายที่มีอาการรุนแรงมากอาจเกิดการบวมบริเวณเบ้าตา ทำให้มองไม่เห็น หรือมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง

 

  


นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายอาจพบว่ามีอาการปวดบริเวณใบหน้า หัวตา หน้าผาก โหนกแก้ม หรือท้ายทอยเมื่อเครื่องบินขึ้นหรือลดระดับเพื่อลงจอด โดยอาจมีเลือดออกจมูกหรือเสมหะปนเลือดก็ได้

 

 

สล็อต