ริดสีดวงทวาร โรคร้ายในจุดที่บอบบาง

February 25 / 2025

ริดสีดวงทวาร

 

 

 

     พูดถึงผ่าตัดริดสีดวงเพียงแผ่วเบาก็เจ็บ ผู้ป่วยที่เป็นโรคริดสีดวงทวารจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดครับ ส่วนใหญ่ปรับพฤติกรรมนิดหน่อย ทานยาระบายอย่างถูกวิธีก็หายเองได้ แต่ก็เป็นซ้ำได้เหมือนกัน

 

โรคริดสีดวงทวาร

     โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids) คือกลุ่มโรคของหลอดเลือดดำบริเวณปลายสุดของลำไส้ใหญ่และที่ขอบรูทวารหนักโป่งพอง กลายเป็นเม็ดหรือเป็นติ่งยื่นออกมา ทำให้เจ็บปวดเวลาถ่าย หรือถ่ายออกมาเป็นเลือด โดยริดสีดวงทวารแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

 

ชนิดของริดสีดวงทวาร

  • ริดสีดวงทวารภายใน จะเกิดเหนือทวารหนักขึ้นไปโดยไม่โผล่ออกมาให้เห็นและคลำไม่ได้ มักปกคลุมด้วยเยื่อของลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย อย่างไรก็ตาม ริดสีดวงชนิดดังกล่าวไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดแต่อย่างใด หากยังไม่มีอาการแทรกซ้อนจะมีก็เพียงเลือดที่ออกมาพร้อมอุจจาระ
  • ริดสีดวงทวารภายนอก จะเกิดขึ้นบริเวณปากรอยย่นของทวารหนัก ซึ่งสามารถมองเห็นและคลำได้ ทั้งยังสร้างความเจ็บปวดและมีเลือดออกเวลาขับถ่าย

 

 

ริดสีดวงทวาร

 

 

อาการของการเป็นริดสีดวง

     เบื้องต้นที่ให้สงสัยว่าเป็นริดสีดวงทวารคือ มีเลือดสีแดงสดๆ ออกมาเวลาเบ่งถ่ายอุจจาระอาจเป็นเลือดฉาบบนผิวของอุจจาระหรือมีคราบเลือดสดติดอยู่บนกระดาษชำระเวลาที่เช็ด หรือมีก้อนเนื้อนิ่ม ๆ โผล่ออกมาจากรูทวารหนัก ความรุนแรงของอาการก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ระยะ

 

ระยะของริดสีดวง

  • ระยะที่ 1 อาจมีเลือดออกให้เห็นไม่มีอาการเจ็บปวด ไม่มีหัวริดสีดวงโผล่ออกมาจากรูทวารหนักเวลาถ่ายอุจจาระ
  • ระยะที่ 2 มีก้อนเนื้อโผล่ออกมาจากทวารหนัก แต่ยุบหายไปได้เมื่อถ่ายอุจจาระเสร็จ
  • ระยะที่ 3 ถ่ายเสร็จแล้วก้อนเนื้อยังอยู่ที่ทวารหนัก ต้องใช้นิ้วมือดันเข้าไป
  • ระยะที่ 4 ก้อนเนื้อไม่ยอมผลุบเข้าไปแม้ใช้นิ้วมือดัน ทำให้รู้สึกรำคาญ หรือมีอาการเจ็บปวด

 

ความคล้ายคลึงของอาการจากโรคริดสีดวงทวาร

     โรคริดสีดวงทวารยังอาจมีอาการคล้ายกับโรคอื่น ๆ ทั้งที่ไม่ร้ายแรงและร้ายแรง เช่น โรคมะเร็งทวารหนักหรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ ดังนั้นหากสังเกตเห็นอาการผิดปกติเหล่านี้ ผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัดตั้งแต่แรกและรับการรักษาที่เหมาะแต่เนินดีที่สุดครับ

 

การนั่งขับถ่ายนานส่งผลเสียต่อสุขภาพ

     หลายคนมักเข้าใจว่าการเข้าไปนั่งเล่นในห้องน้ำนานอาจไปกระตุ้นต่อมการขับถ่ายทำงานมากขึ้น ซึ่งไม่ใช่วิธีที่เหมาะสม เนื่องจากการขับถ่ายนานขึ้นทำให้มีเลือดไปคั่งอยู่ที่บริเวณทวารหนัก เมื่อผู้ป่วยเบ่งอุจจาระถี่และนานขึ้นกว่าเดิม ก็อาจทำให้เนื้อเยื่อหลอดเลือดบริเวณปลายลำไส้ใหญ่เกิดการโป่งพองจนกลายมาเป็นริดสีดวงทวารได้

 

อ่านเพิ่มเติม: 'ท้องผูก' เรื่องเก่าที่เล่าบ่อยเมื่อถ่ายไม่ออก ปล่อยไว้อาจเป็นเรื่องใหญ่

 

 


สาเหตุของการเกิดริดสีดวงทวารอาจมาจากการออกแรงเบ่งอุจจาระบ่อยจากอาการท้องผูก การใช้ยาสวนยาถ่ายบ่อยจนทำให้ประสิทธิภาพของระบบขับถ่ายลดลง หรือจากพฤติกรรมการทานอาหารแข็งและรสจัด


 

 

การรักษาริดสีดวงทวาร

     การรักษาก็ขึ้นอยู่กับระยะที่เป็นในระยะแรก สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการทานยา หรือใช้ยาเหน็บ ร่วมกับการดูแลตัวเอง กินอาหารที่มีกาก ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ และฝึกการขับถ่ายให้เป็นเวลา หากเป็นระยะที่รุนแรงหัวริดสีดวงโผล่ บวมและอักเสบอยู่ภายนอกตลอดเวลา แพทย์อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด

 

 

ริดสีดวงทวาร

 

 

ริดสีดวงทวารที่อาจพิจารณาผ่าตัด

  • ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา ปรับพฤติกรรมก็แล้วมันก็ไม่หายซักที
  • ริดสีดวงทวารที่ยื่นออกมาจนต้องใช้มือดัน หรือดันก็ไม่เข้า
  • ริดสีดวงทวารที่มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ แข็ง และมีอาการเจ็บมาก
  • ริดสีดวงทวารที่พบร่วมกับโรคอื่นที่ต้องได้รับการผ่าตัดอยู่แล้ว

 

 

 

ริดสีดวงทวาร

 

 

วิธีการผ่าตัดริดสีดวงทวาร

1.  การผ่าตัดดั้งเดิม

     การผ่าตัดดั้งเดิมคือการผ่าตัดหัวริดสีดวงออก ซึ่งจะเย็บหรือไม่เย็บแผลก็ได้ ข้อดีคือสามารถรักษาริดสีดวงได้ทุกรูปแบบ โอกาสเป็นซ้ำพอ ๆ กัน ข้อเสียคือแผลใหญ่ เจ็บ ใช้เวลานานกว่าจะหาย

 

2.  การผ่าตัดด้วยอุปกรณ์เย็บอัตโนมัติ

     ข้อดีคือทำง่าย เร็ว เก็บริดสีดวงได้รอบก้น แต่ข้อเสียคือมีลวดเย็บอยู่ อาจมีอาการเจ็บเรื้อรังได้

 

3.  การผ่าตัดด้วยการเย็บเส้นเลือดที่ขั้วริดสีดวง

     ข้อดี ไม่มีแผล เพราะเย็บเฉย เจ็บน้อยกว่าแน่นอน ช่วยเรื่องเลือดออกได้ แต่เรื่องก้อนที่ยื่นไม่ช่วยครับ และโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำค่อนข้างสูง

 

4.  การผ่าตัดด้วยเลเซอร์หรือคลื่นวิทยุ (RFA)

     ผมจัดเข้าไว้ด้วยกัน เพราะหลักการและวิธีการคล้ายกันครับ โดยใช้พลังงานจี้ทำลายหลอดเลือดที่ขั้วของริดสีดวง และทำลายตัวเนื้อเยื่อของริดสีดวงด้วย ซึ่งสามารถทำให้หัวริดสีดวงฝ่อไปได้มาก แผลเล็กกว่าวิธีดั้งเดิม เจ็บน้อยกว่า แผลหายเร็วกว่าครับ

 

 

การผ่าตัดมีหลายวิธีก็ซึ่งเหมาะสมกับแต่ละคน ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อรักษาให้ถูกวิธี เพราะไม่มีใครอยากผ่าตัดกันหลายครั้ง และทุกคนก็อยากหายจากโรคเหมือนกันครับ

 

 

แก้ไข

29/01/2567

สล็อต