เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
อาการ ‘เบาหวานลงเท้า’ ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบมากในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะเมื่อน้ำตาลในเลือดอยู่ในระดับที่สูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ก็มักส่งผลทำให้เส้นเลือดฝอยและเส้นประสาทบริเวณปลายเท้าเสื่อมสภาพ เกิดเป็นแผลอักเสบเรื้อรัง ติดเชื้อง่าย และยากต่อการรักษา โดยจากการสำรวจพบว่าใน 1 ปี จะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานที่สูญเสียอวัยวะมากกว่า 1 ล้านราย แม้ว่าแนวโน้มของสถิติจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคนที่เป็นแผลเบาหวาน จะนำไปสู่การถูกตัดนิ้ว เท้า หรือขาเสมอไป เพราะหัวใจของการดูแลรักษาแผลเบาหวาน คือการดูแลป้องกันไม่ให้แผลลุกลาม รวมถึงการหมั่นสังเกตอาการของแผลบริเวณเท้า และรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะทำให้ลดโอกาสที่จะนำไปสู่การสูญเสียอวัยวะได้อย่างมาก
นอกจากการสำรวจเท้าตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรหมั่นสังเกตอาการเบื้องต้นของอาการ ‘เบาหวานลงเท้า’ ดังต่อไปนี้
โดยหากพบว่ามีบาดแผลบริเวณเท้าเกิดขึ้น ก็ควรรีบดูแลรักษาให้สะอาด แต่หากแผลเริ่มอักเสบ หายช้า หรือมีอาการรุนแรง ก็ควรรีบเข้าพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
ในระยะเริ่มแรกก่อนเกิดแผลเบาหวาน ผู้ป่วยมักสังเกตพบว่าตนเองเริ่มรู้สึกปวดขาเวลาเดินได้ระยะหนึ่งจนต้องหยุดพัก อาการดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจากหลอดเลือดส่วนปลายบริเวณขาเริ่มเกิดการตีบตัน และในระยะต่อมาเมื่อการตีบตันเพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้ผู้ป่วยเริ่มเดินได้น้อยลง และอาจเริ่มสังเกตเห็นบาดแผลเรื้อรังที่บริเวณเท้า
แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมาก ที่ไม่มีอาการปวด และมาสังเกตเห็นบาดแผลที่เท้าในภายหลัง แผลเบาหวานเหล่านี้ มักไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีปกติ โดยความรุนแรงของบาดแผล จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของบาดแผล แบ่งออกเป็นได้เป็น 4 ระดับ คือ
ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักมีอาการชา หรือไร้ความรู้สึกบริเวณเท้า โดยอาจเริ่มรู้สึกชาจากปลายนิ้วเท้า ไล่ขึ้นไปบริเวณหลังเท้าและขา ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงติดต่อกันเป็นเวลานาน ส่งผลทำให้ระบบประสาททำงานผิดปกติ เกิดเป็นภาวะปลายประสาทเสื่อมได้ในที่สุด ดังนั้นเมื่อเกิดบาดแผลในบริเวณดังกล่าว ผู้ป่วยจึงมักไม่รู้ตัว ปล่อยให้บาดแผลอักเสบ รวมถึงการเดินลงน้ำหนักที่บริเวณแผล ทำให้แผลถูกกดทับ และไม่สามารถหายได้
ภาวะหลอดเลือดตีบแข็งจนเกิดการอุดตันในผู้ป่วยเบาหวาน มักส่งผลให้เนื้อเยื่อขาดเลือด เนื่องจากเลือดไม่สามารถไหลเวียนมาหล่อเลี้ยงได้อย่างเพียงพอ เมื่อเกิดบาดแผลเรื้อรัง การสมานแผลจึงเป็นไปได้ยากกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณปลายนิ้วเท้าหรือส้นเท้า
นอกจากผลกระทบจากภาวะเนื้อเยื่อขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง ทำให้การสมานแผลเป็นไปได้ช้ากว่าคนปกติแล้ว บาดแผลบริเวณเท้ามักสัมผัสกับเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย ส่งผลให้แผลเกิดการอักเสบลุกลาม และนำไปสู่การสูญเสียเท้าหรือขาตามมาได้
นอกจากการดูแลใส่ใจตนเองอย่างใกล้ชิดแล้ว หากพบว่าแผลหายช้า และมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น เช่น รู้สึกปวด มีหนองออกจากแผล นิ้วเท้ามีสีเขียวคล้ำ หรือมีอาการบวม แดง ร้อน บริเวณเนื้อเยื่อใกล้เคียง ควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา ก็จะเป็นการช่วยไม่ให้บาดแผลอักเสบลุกลาม และลดโอกาสในการสูญเสียอวัยวะได้
โรงพยาบาลรามคำแหง จะมีเป็น Diabetic care package แพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน (ผู้ชาย-ผู้หญิง) ราคา 4,890 บาท