เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
เมื่อพูดถึงความผิดปกติของหัวใจ หลายคนคงเกิดคำถามว่า จริง ๆ แล้ว เป็นโรคร้ายแค่ไหน สามารถรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ต้องผ่าตัดวิธีใด และจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลไหม ปัจจุบันมีเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย ซึ่งทำให้การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือลิ้นหัวใจรั่วเป็นไปได้ง่ายขึ้น ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหงพร้อมดูแลรักษาหัวใจทุกดวง ตั้งแต่การป้องกันตลอดจนการแก้ไขความผิดปกติโดยไม่ต้องผ่าตัด เพื่อให้คุณสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจยิ่งขึ้น
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความชำนาญของแพทย์ทำให้การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะมีความก้าวหน้ามากกว่าที่ผ่านมาในอดีต โดยเฉพาะในกรณีที่หัวใจยังทำงานเป็นปกติ การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ บางโรคมีโอกาสรักษาให้หายสูงถึง 90-95% ด้วยการจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Radiofrequency Catheter Ablation, RFCA) ซึ่งถือเป็นการรักษาหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยไม่ต้องผ่าตัด เจ็บตัวน้อยและมีภาวะแทรกซ้อนต่ำ
แพทย์จะสอดสายสวนหัวใจจากบริเวณขาหนีบเพื่อไปให้ถึงตำแหน่งที่วงจรไฟฟ้าหัวใจเกิดความผิดปกติ หลังจากนั้นจึงส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปยังตำแหน่งนั้น ๆ จนเกิดความร้อนต่ำ ๆ ขึ้นที่ส่วนปลายของสายสวนหัวใจเพื่อจี้รักษา กรณีที่พบความผิดปกติในหลายตำแหน่ง แพทย์อาจต้องทำซ้ำ 2-3 ครั้ง แต่โดยรวม ถือว่าเป็นวิธีที่ลดความเสี่ยง ลดอาการเจ็บตัว ไม่ต้องทานยาและมีโอกาสหายขาดสูง
วิธีการป้องกันโรคลิ้นหัวใจรั่วในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ในกรณีที่ไม่ได้มีความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด โรคลิ้นหัวใจรั่วสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงได้เช่นเดียวกับโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
หากพบว่าตัวเองมีความเสี่ยง ก็ควรหมั่นสังเกตตัวเองว่าเข้าข่ายหรือไม่ รวมถึงเข้ารับการตรวจเช็กร่างกายและสุขภาพหัวใจทุกปี ในกรณีที่พบว่ามีอาการแน่นหน้าอก หรือมีอาการผิดปกติ ก็ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อป้องกันความรุนแรงตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม
การออกกำลังกายนับว่ามีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ เพราะนอกจากจะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือดแข็งแรงขึ้นแล้ว ยังเป็นการช่วยเพิ่มการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้อย่างดีอีกด้วย แต่ถึงแม้การออกกำลังกายจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มสมรรถภาพโดยรวมของหัวใจ ผู้ป่วยโรคหัวใจ ก็ยังมีความจำเป็นที่จะเลือกประเภทกีฬาที่เหมาะสม โดยรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ คือ การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ อาทิ แอโรบิค เดิน วิ่ง ปั่นจักรยานอยู่กับที่ ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่เน้นการเสริมสร้างความแข็งแรงให้หัวใจสามารถนำออกซิเจนมาใช้ได้มากขึ้นนั่นเอง
‘TAVI’ (Transcatheter Aortic Valve Implantation) เป็นอีกหนึ่งวิธีการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจเดิมที่เสื่อมสภาพโดยไม่ต้องผ่าตัด แพทย์อาจใช้สายสวนผ่านหลอดเลือดแดงใหญ่บริเวณขาหนีบ เมื่อสายสวนเข้าถึงบริเวณลิ้นหัวใจที่ตีบ แพทย์จะปล่อยลิ้นหัวใจเทียมที่ม้วนพับอยู่ให้กางออกและกลายเป็นลิ้นหัวใจใหม่แทนของเดิมที่ใช้การไม่ได้
แพ็กเกจตรวจความเสี่ยงโรคหัวใจ ที่ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง มีรายละเอียดแต่ละแพ็กเกจดังนี้