เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
น้ำหนักตัวคุณแม่ตั้งครรภ์… มากเกิน & น้อยไป บอกอะไรได้บ้าง?
หนึ่งในหลาย ๆ เรื่องสำคัญที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรู้ นั่นคือเรื่อง “น้ำหนักตัว” เพราะคุณแม่บางท่านน้ำหนักเกินเกณฑ์ ในขณะที่บางคนก็น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งน้ำหนักที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปนั้น อาจทำให้การตั้งครรภ์เกิดปัญหาตามมาได้
โดยทั่วไปเมื่อครบกำหนดคลอดน้ำหนักตัวของคุณแม่ควรเพิ่มขึ้นประมาณ 14 กิโลกรัม
คุณแม่ตั้งครรภ์ที่น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐานเกิดจากการทานอาหารที่เกินพอดี เช่น แป้งและน้ำตาลควบคู่กับขาดการออกกำลังกาย ซึ่งยังส่งผลเสียให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นอีกอย่างโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและครรภ์เป็นพิษ แถมทารกในครรภ์ก็ยังได้รับสารอาหารที่เกินพอดีตามไปด้วย ทำให้ทารกตัวใหญ่และอาจคลอดตามธรรมชาติได้ลำบาก แพทย์จึงมักแนะนำให้ผ่าคลอด
การมีน้ำหนักมากเกินไปของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ยังส่งผลต่อทารกในอนาคต และยังเสี่ยงเกิดโรคอ้วน โรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดเมื่อเด็กโตขึ้นได้อีก
สาเหตุที่คุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมักมีผลมาจากการมีรูปร่างผอมตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ดังนั้นการได้รับสารอาหารมากกว่าปกติจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากทารกในครรภ์จะต้องดึงเอาสารอาหารจากคุณแม่ไปใช้สร้างอวัยวะและเสริมพัฒนาการการเจริญเติบโตในแต่ละช่วงอายุครรภ์ หากคุณแม่ยังทานอาหารในปริมาณน้อย ทารกก็จะดึงเอาสารอาหารที่มีอยู่น้อยนิดนี้ไปใช้ แน่นอนว่ามีปริมาณไม่เพียงพอ ทำให้ทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนและส่งผลให้มีขนาดตัวเล็กกว่าปกติหลังคลอด
การมีน้ำหนักตัวที่มากหรือน้อยเกินไป ไม่ส่งผลดีทั้งต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ นอกจากการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่แล้ว กรณีที่อ้วนเกินไปให้หลีกเลี่ยงน้ำตาลและไขมัน รวมทั้งออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากน้ำหนักตัวน้อย หมอแนะนำให้ทานมากและบ่อยขึ้น