เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
บทความก่อนหน้า เราได้พาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับลิ้นหัวใจรั่ว แนะนำเทคโนโลยีการวินิจฉัยที่แม่นยำในการพยากรณ์โรคกันไปแล้ว ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเข้าข่ายป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว รวมถึงโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางศูนย์หัวใจโดยตรง และเลือกที่จะเริ่มเข้ารับการรักษาตามกระบวนการ ในบทความนี้เลยอยากจะมาพูดถึงวิธีการรักษา พร้อมวิธีดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง
แนวทางการรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่วของทางศูนย์หัวใจขึ้นอยู่กับความรุนแรง อาการ และอายุของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยหากพบว่ามีการชำรุดเพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง แพทย์อาจแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม และติดตามเฝ้าระวังอาการไปเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีนี้ อาจรวมถึงผู้ป่วยที่มีอายุมาก หรือผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดบริเวณช่องอกมาก่อน ซึ่งอาจไม่เหมาะกับการรักษาด้วยการผ่าตัด ในขณะเดียวกัน ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้เข้ารับการรักษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
กรณีที่ลิ้นหัวใจถูกทำลาย ฉีกขาดหรือมีรอยรั่ว แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย การผ่าตัดประเภทนี้จะใช้เนื้อเยื่อหัวใจของผู้ป่วยเองมาซ่อมแซม ทำให้ไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านจากร่างกายเกิดขึ้น
การซ่อมลิ้นหัวใจผ่านสายสวนคือหัตถการที่มีจุดประสงค์เพื่อซ่อมลิ้นหัวใจ โดยการรักษาด้วย MitraClip นี้มีจุดประสงค์เพื่อรักษาอาการจากลิ้นหัวใจไมทรัลรั่วชนิดรุนแรงที่ไม่สามารถทําผ่าตัดหัวใจแบบเปิดได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงก็อาจเกิดอันตรายจากการผ่าตัด เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคร่วมหลายโรค เป็นต้น โดยอายุรแพทย์หัวใจและศัลยแพทย์หัวใจและทรวงอกจะเป็นผู้พิจารณาถึงความเหมาะสม
ปัจจุบันสามารถทำผ่านสายสวนทางหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ หรือชายโครงเข้าไปทางหัวใจได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดกระดูกหน้าอก วิธีการนี้นับเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลลัพธ์ที่ดี ใช้เวลาน้อย และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการผ่าตัดได้อย่างมาก
การออกกำลังกายที่ถูกวิธีเพื่อให้หัวใจให้แข็งแรง การออกกำลังนับเป็นกิจกรรมที่ผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถทำได้ และส่งผลดีต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพของหัวใจโดยรวม นอกจากการออกกำลังกายจะช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจ และหลอดเลือดทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างดีขึ้น วิธีที่ศูนย์หัวใจแนะนำ ทำให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ดี และมีสุขภาพใจที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ผู้ป่วยโรคหัวใจควรออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์จากศูนย์หัวใจ และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด และควรคำนึงถึงข้อปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาทางโรคหัวใจของศูนย์หัวใจรามคำแหง มีดังนี้
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหงพร้อมให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจด้วยความทุ่มเทและคำนึงถึงชีวิตของผู้เข้ารับการรักษาเป็นสำคัญ โดยโรงพยาบาลเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อรองรับทุกสถานการณ์ฉุกเฉินภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ชำนาญเฉพาะด้าน