ผ่าตัดกระเพาะอาหาร ทางเลือกในการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น

March 12 / 2025

  

 

การผ่าตัดกระเพาะอาหาร

 

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร

 

 

 

     ผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก เป็นวิธีการลดน้ำหนักประเภทหนึ่งสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน โดยใช้วิธีการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร เพื่อรักษาโรคที่เกิดจากความอ้วน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสะสมที่ตับ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น

 

 

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร

 

 

'ภาวะอ้วน' วัดอย่างไร

เราสามารถประเมินภาวะอ้วนอย่างง่ายด้วยวิธี

 

1.  การวัดเส้นรอบพุงผ่านสะดือ

     หากผู้ชายมีเส้นรอบพุงมากกว่า 90 เซนติเมตร (35 นิ้ว) และผู้หญิงหากมีเส้นรอบพุงมากกว่า 80 เซนติเมตร (31.5 นิ้ว) แล้วยิ่งถ้ามีเบาหวาน ความดัน หรือ มีไขมันสูงร่วมด้วยแล้วถือว่ามีความเสี่ยง ควรรีบพบแพทย์ เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม เพราะเราเรียกภาวะนี้ว่าภาวะอ้วนลงพุงและกลุ่มอาการด้านเมตตาโบลิค (Metabolic syndrome) ซึ่งมีโอกาสเกิดทุพพลภาพและเสียชีวิตได้ค่อนข้างสูง

 

2.  การวัดค่าดัชนีมวลกาย (Body Mas Index; BMI)

     ส่วนในทางการแพทย์ เราใช้ค่ามาตรฐานในการวัดภาวะอ้วน โดยหาได้จากการนำน้ำหนัก (กิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง เช่น หนัก 90 กิโลกรัม สูง 160 เซนติเมตร ค่า IBM คำนวนได้ คือ (90 / (1.6 x 1.6)) จะได้ BMI = 35.15 กก./ตร.ม. หาก BMI มากกว่า 32.5 กก./ตร.ม. จะถือว่าเริ่มมีข้อบ่งชี้ เริ่มมีความเสี่ยงสูง ควรจะพิจารณาเรื่องการผ่าตัดลดน้ำหนักได้แล้วนั่นเอง 

 

 

วิธีการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

การผ่าตัดกระเพาะอาหารเน้นแบบส่องกล้องซึ่งแบ่งเป็น 2 วิธี ได้แก่ 

 

1.  ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร

     ที่นิยมในปัจจุบันคือ Sleeve gastrectomy ซึ่งเป็นการผ่าตัดแบบส่องกล้องเพื่อย่อขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลงเหลือเป็นทรงถุงยาว ช่วยให้ลดฮอร์โมนอยากอาหารจึงทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว ทานน้อยลง 

 

2.  ผ่าตัดลดการดูดซึมของกระเพาะ (RYGB)

     วิธีถัดมาเป็นการผ่าตัดเบี่ยงเบนทางเดินอาหาร (Roux-en-Y gastric bypass: RYGB) ร่วมกับลดขนาดกระเพาะอาหาร โดยแพทย์จะแบ่งกระเพาะอาหารออกเป็นสองส่วน โดยปรับส่วนที่รับอาหารให้เล็กลงและเชื่อมต่อเข้าลำไส้เล็กส่วนกลาง เพื่อลดการดูดซึมและความอยากอาหาร 

 

 

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร

 

 

การเตรียมตัวก่อน-หลังผ่าตัด

  • การคุมอาหารก่อนการผ่าตัด ควรลดน้ำหนักลงได้ประมาณ 5-10% ของน้ำหนักตัวใน 1-2 สัปดาห์ จะช่วยให้การผ่าตัดนั้นทำได้ง่ายและลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไขมันเกาะตับ
  • การพักฟื้นหลังผ่าตัด ใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลราว 3 - 4 วัน โดยช่วงแรกอาจพบอาการคลื่นไส้ เจ็บแผล อ่อนเพลียและอื่น ๆ ซึ่งแพทย์อาจใช้ยาบรรเทาร่วม หากอาการดีขึ้นแนะนำผู้ป่วยปรับเปลี่ยนอิริยาบถบนเตียงเพื่อให้เลือดไหลเวียนสะดวก
  • ติดตามอาการ และภาวะแทรกซ้อนทุก 2 สัปดาห์จนครบ 1 เดือน ก่อนขยับเป็น 3 เดือนจนครบ 2 ปี โดยแพทย์จะปิดแผลแบบกันน้ำก่อนกลับบ้าน หากแผลไม่ซึม ไม่จำเป็นต้องแกะแผลจนถึงวันพบแพทย์ หากมีอาการดังกล่าวให้พบแพทย์ทันที เช่น แผลบวมแดง อาการเจ็บหรือมีไข้สูง
  • ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร รับประทานอาหารเหลวที่มีพลังงานน้อยกว่า 800 กิโลเคลอรี่ โปรตีน 60 - 80 กรัม/วัน ร่วมกับดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอตามคำแนะนำของแพทย์และนักกำหนดอาหาร

 

 

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร

 

 

ระยะการดูแลตัวเองหลังผ่าตัด

ผู้ป่วยจะสามารถเริ่มรับประทานอาหารได้ โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้

 

  • ระยะที่ 1 วันแรกหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะเริ่มรับประทานเป็นอาหารเหลวใส เช่น ซุปใส น้ำข้าว น้ำสมุนไพรที่ไม่มีน้ำตาล
  • ระยะที่ 2 ในวันที่ 2 หลังการผ่าตัด หากผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ดี จะปรับเป็นอาหารเหลวข้น เช่น ซุปข้น หรืออาหารทางการแพทย์สูตรคาร์โบไฮเดรตต่ำ
  • ระยะที่ 3 ในช่วง 2-4 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยสามารถปรับอาหารเป็นอาหารอ่อน เช่น โจ๊กข้าวต้ม เนื้อสัตว์สุกนิ่ม โดยควรรับประทานโปรตีนให้ได้ประมาณ 60 กรัมต่อวัน  
  • ระยะที่ 4  หลังการผ่าตัด 1 เดือน สามารถรับประทานเป็นอาหารปกติ แต่ปริมาณน้อย ๆ ในแต่ละมื้อ โดยได้รับพลังงานประมาณ 1,000 กิโลแคลอรีต่อวัน และรับประทานโปรตีนให้เพียงพอ กับความต้องการต่อวัน  

 


คำแนะนำในการรับประทานอาหาร

  • เริ่มรับประทานอาหารในปริมาณน้อย ๆ 2-5 คำต่อมื้อ โดยอาจแบ่งเป็น 4-5 มื้อต่อวัน
  • เคี้ยวอาหารให้ละเอียดอย่างช้า ๆ และหยุดรับประทานทันทีเมื่อรู้สึกอิ่ม
  • รับประทานโปรตีนที่มีคุณภาพ คาร์โบไฮเดรตที่ค่าดัชนีน้ำตาลและไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา อกไก่ ไข่ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท 

 

 

ผ่าตัดกระเพาะอาหาร

 

Q&A ตอบข้อสงสัยเรื่องผ่าตัดกระเพาะอาหาร

  • ผ่าตัดกระเพาะอันตรายไหม แม้การผ่าตัดจะได้รับความนิยมมากขึ้น ทว่าความเสี่ยงขึ้นอยู่กับโรคร่วมของผู้ป่วยแต่ละราย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันวงการแพทย์ได้พัฒนาเทคนิคการผ่าตัดแบบส่องกล้องซึ่งก่อแผลน้อย เจ็บน้อยและหายไว (Minimally invasive surgery) ทั้งนี้ความเสี่ยงจะลดน้อยลงหากได้รับความดูแลจากแพทย์ชำนาญเฉพาะด้าน
  • ผ่าตัดกระเพาะมีข้อดีอย่างไร การผ่าตัดกระเพาะอาหารไม่เพียงช่วยให้หายจากโรคอ้วน แต่ยังรวมถึงความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันสะสมที่ตับ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะมีบุตรยาก การนอนกรน ประจำเดือนมาไม่ปกติ และยังช่วยให้เกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
  • สามารถฟื้นตัวที่บ้านได้ไหม เมื่อประเมินพบว่าผู้ป่วยพร้อม แพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ โดยแนะนำการรับประทานอาหารและการปฏิบัติตัว
  • กิจกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง งดยกของหนักตั้งแต่ 5 กก. ขึ้นไป และงดทำกิจกรรมที่ใช้แรงมากๆ เป็นระยะเวลา 6-8 สัปดาห์

 


มีโอกาสกลับมาอ้วนได้จากหลากสาเหตุ เช่น การรับประทานน้ำตาลหรืออาหารกลุ่มแป้ง การทานจุกจิก การไม่ออกกำลังกาย 


 

 

 

 

 

ใส่ใจรูปร่างและสุขภาพให้แข็งแรงอย่างยั่งยืน

     ศูนย์ดูแลสุขภาพและน้ำหนัก โรงพยาบาลรามคำแหง ให้การดูแลลดน้ำหนักสุขภาพจากเหล่าแพทย์เฉพาะทางและผู้ชำนาญการจากสหสาขาวิชาชีพ พร้อมโปรแกรมที่ครอบคลุมทุกด้านตั้งแต่การปรับการรับประทานอาหารที่เหมาะสมแบบรายบุคคล การออกกำลังกาย การใช้ยาและการผ่าตัดด้วยนวัตกรรมการผ่าตัดกระเพาะอาหารประสิทธิภาพสูง ลดเสี่ยงหลังผ่า ก้าวสู่ชีวิตใหม่ได้อย่างมั่นใจกว่าที่เคย

 


  

สล็อต