พญ. บัณฑิตา พงษ์ตัณฑกุล
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, การตรวจและฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและการออกกำลังกาย
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
เมื่อหัวใจเกิดล้มเหลว เพียงเสี้ยวนาทีก็เปลี่ยนหนึ่งชีวิตพร้อมหนึ่งหัวใจให้แน่นิ่งไปชั่วขณะ เสมือนเส้นแบ่งระหว่างความเป็นและตายนั้นทับซ้อนกัน ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรังไม่รู้ได้แม้อายุน้อย ล่วงรู้ถึงสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว พร้อมเข้าใจสัญญาณเสี่ยงและป้องกันได้ทันกาลแม้ยามคับขัน
ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure) เป็นกลุ่มอาการจากความผิดปรกติของหัวใจที่ไม่สามารถสูบฉีดเลือดสู่ร่างกายได้มากเพียงพอ ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักจนอ่อนล้า เกิดอาการเจ็บแน่นตามอก โดยทั่วไปสาเหตุเกิดจากเยื่อหุ้ม-ลิ้นหัวใจผิดปรกติ การใช้สารเสพติด การติดเชื้อไวรัส การได้รับเคมีบำบัดบางชนิดหรือเป็นผลสืบเนื่องจากโรคเดิม เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ความดันเลือดสูง โรคลิ้นหัวใจรูมาร์ติก โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจพิการแต่กำเนิด
แม้ว่า ได้จำแนกชนิดของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวแบบแยกส่วนซีกซ้าย-ขวา เนื่องจากปริมาณสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ น้อยกว่า 40% ทว่ายังสามารถแบ่งตามช่วงเวลาที่แสดงอาการ
เมื่อเกิดอาการ แพทย์จะเริ่มตรวจเลือดร่วมกับอัลตราซาวด์เพื่อสืบโรค โดยดูจากการทำงานของหัวใจล่างซ้าย (LVEF: Left Vetricular Ejection Fraction) หากค่าลดลงแสดงว่าหัวใจเกิดความเสียหาย ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยออกแรงได้น้อยและใช้ชีวิตลำบาก
แพทย์เริ่มประเมินสภาพก่อนเลือกใช้ยาให้เหมาะสมตามกลุ่มอาการ เช่น กลุ่มยาขับปัสสาวะ กลุ่มยายับยั้งเอนไซม์แองจิโอเทนซิน กลุ่มยาปิดกั้นเบต้า กลุ่มยาดิจิทาลิสหรือกลุ่มยาไนเตรท ซึ่งสามารถใช้เพื่อชะลอความเสื่อมของอวัยวะร่วมกับป้องกันภาวะเสี่ยงอื่นที่ตามมา (อ้างอิงข้อมูลจากโรงพยาบาลปิยการุณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)
แพทย์สามารถใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเพื่อใช้ควบคุมจังหวะการเต้น ตรวจจับความผิดปรกติและป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยมากใช้รักษาหัวใจช่องล่างบีบไม่สัมพันธ์กัน ซึ่งอาจใช้คู่กับเครื่องกระตุกไฟฟ้า
การใช้เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจจัดเป็นวิธีคงสภาพให้หัวใจสูบฉีดสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ใกล้เคียงกับภาวะปรกติ ซึ่งใช้สำหรับคนที่รอการผ่าตัดและใช้รักษาผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจได้
เนื่องด้วยหัวใจล้มเหลวเกิดจากสภาวะขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง ทำให้การผ่าตัดเบี่ยงเส้นทางหัวใจเป็นหนึ่งการรักษาที่ช่วยให้เลือดไหลสู่หัวใจได้สะดวก ซึ่งมักใช้กรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือภาวะอื่นตามแต่ดุลยพินิจของแพทย์
ในรายที่อาการรุนแรงจนไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจจากผู้บริจาค ซึ่งอาจเปรียบเทียบเห็นจากข้อดีที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยให้น้อยที่สุด
อุ่นกายสบายใจเมื่อใกล้หมอ ห่างไกลจากภาวะหัวใจล้มเหลวกับศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลรามคำแหง มอบความหวังใหม่สู่ชีวิตอีกครั้งให้ก้าวเดินต่อไปอย่างเป็นสุข ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะด้านโรคหัวใจพร้อมเทคโนโลยีการรักษาสมัยใหม่และหลักการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ ปอดและออกกำลังกายที่เริ่มต้นได้ตั้งแต่วันนี้
อายุรศาสตร์โรคหัวใจ, การตรวจและฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและการออกกำลังกาย