พญ. สุพิชฌาย์ ธรรมอิสระกุล
กุมารเวชศาสตร์ อนุสาขากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
การเติบโตของลูกนับเป็นสิ่งที่ทุกคนเฝ้าดู แต่หากวันหนึ่งเราพบว่าลูกของเรามีพัฒนาการช้ากว่าเด็กคนอื่นที่อยู่วัยเดียวกัน เราจะทำอย่างไร
พัฒนาการช้า (Developmental Delay in Children) คือภาวะที่เด็กพัฒนาทักษะได้ล่าช้ากว่าปรกติ ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ การเคลื่อนไหว ภาษาและการสื่อสาร ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ เด็กแต่ละคนอาจมีพัฒนาการช้าหรือเร็วต่างกัน แต่หากลูกของเรามีสัญญาณเหล่านี้ ควรเข้าพบกุมารแพทย์
สิ่งที่สำคัญคืออย่าให้ลูก “ดีขึ้นเอง” เพราะพัฒนาการที่ช้าเป็นสัญญาณของปัญหาที่ควรได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน หากเราแก้ไขได้เร็วเท่าไหร่ โอกาสที่ลูกจะพัฒนาดีขึ้นก็มากเท่านั้น
สาเหตุยังไม่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยหลายชิ้นมุ่งประเด็นที่ปัจจัยก่อนเกิด ระหว่างเกิดและหลังเกิดของเด็ก เช่น
กุมารแพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติอาการของเด็กและข้อมูลจากคุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่ช่วงระหว่างตั้งครรภ์ ช่วงเด็กเกิดจนถึงปัญหาพัฒนาการทั้ง 4 ด้านในแต่ละช่วงวัย จากนั้นแพทย์จึงเริ่มตรวจพัฒนาการและวางแผนการบำบัดที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน เด็กควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองพัฒนาการใน 9 เดือนหลังเด็กเกิด 9 เดือน, 18 เดือน, 24 เดือน, 36 เดือน, 42 เดือนและ 60 เดือน เพื่อดูพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
อ่านเพิ่มเติม : ออทิสติก เฝ้าสังเกตร่วมดูแลเมื่อรู้ว่าลูกเป็น ต้องทำอย่างไร
กุมารแพทย์ได้วางโปรแกรมการรักษาและการให้คำแนะนำตามลักษณะปัญหาที่พบ เช่น การทำกิจกรรมบำบัด อรรถบำบัด กายภาพบำบัด หรือแม้แต่จิตบำบัดควบคู่กับสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ปกครองกับตัวเด็ก เพื่อให้เด็กใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข
แผนกเด็ก โรงพยาบาลรามคำแหง และกุมารแพทย์ชำนาญเฉพาะด้านพร้อมโอบกอดและดูแลให้เด็กได้เติบโตอย่างแข็งแรง ฉลาด สดใสและมีพัฒนาการที่ดีสมวัย
หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีพัฒนาการช้า อย่าละเลยเข้าพบกุมารแพทย์หรือผู้ชำนาญเฉพาะด้านพัฒนาการเด็ก เพราะการช่วยเหลือลูกตั้งแต่เนิ่น อาจเปลี่ยนแปลงอนาคตของเขาได้ตลอดไป
กุมารเวชศาสตร์ อนุสาขากุมารเวชศาสตร์พัฒนาการและพฤติกรรม