นพ. ดนัย ลิ้มมธุรสกุล
อายุรแพทย์ทางเดินอาหาร
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
แม้ปัจจุบันอหิวาตกโรคจะไม่ระบาดหนักเท่าในอดีต แต่ก็สามารถพบเจอและเกิดได้จากจุดเล็กรอบตัว ทั้งจากน้ำที่เราดื่ม อาหารที่เราทานและฝ่ามือที่สัมผัสโรคที่ไม่มองเห็นด้วยตาเปล่า โดยเฉพาะใครที่วางแผนบินลัดฟ้าไปต่างแดน การรู้สถานการณ์โรคและวิธีป้องกันอหิวาตกโรคก็สำคัญ
อหิวาตกโรค (Cholera) เป็นภาวะท้องร่วงเฉียบพลันซึ่งโดยทั่วไปเกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อที่ชื่อว่า ‘Vibrio Cholera’ ปะปนอยู่ เช่น อาหารที่ปรุงสุกดิบ อาหารที่แมลงวันตอม นอกจากนี้ผู้ป่วยยังได้รับเชื้อจากการไม่ได้ล้างมือให้สะอาดก่อนหยิบอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาด
เมื่อใดที่เกิดน้ำท่วม โอกาสได้รับเชื้ออหิวาตกโรคก็ยิ่งมากขึ้น เนื่องจากเชื้อมักพบมากในน้ำ เมื่อไหร่ที่เข้าสู่ช่วงหน้าร้อนก็ยิ่งเร่งให้เชื้อแบ่งตัวได้ดี หากเชื้อเข้าสู่ร่างกายซึ่งมีอุณหภูมิที่พอเหมาะก็ยิ่งเจริญเติบโตได้ดีและก่อโรคได้รวดเร็ว
ผู้ที่ได้รับเชื้อจะเกิดอาการถ่ายเหลวคล้ายน้ำซาวข้าว มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้และอาเจียน ซึ่งโดยเฉลี่ยจะเกิดอาการภายใน 1 - 2 วัน หากอาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยสามารถหายได้ภายใน 1 - 5 วัน อย่างไรก็ตาม หากถ่ายมาก ร่างกายก็อาจเกิดภาวะขาดน้ำจนช็อกและเกิดภาวะเสี่ยงที่รุนแรงกว่า
โรงพยาบาลรามคำแหงสามารถตรวจหาเชื้อ Vibrio Cholerae ซึ่งเป็นสาเหตุของอหิวาตกโรคด้วย
แรกเริ่มด้วยการเก็บตัวอย่างอุจจาระของผู้ป่วย เพาะเชื้อและส่องกล้องดูการเคลื่อนไหวของเชื้อ หลังจากนั้นจึงทดสอบทางชีวเคมีเบื้องต้น เช่น การผลิตสารพิษของเชื้อโรค สารภูมิต้านทานโรคในเลือด เพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยสภาพของโรคได้แม่นยำขึ้น การตรวจเชื้อด้วยวิธีนี้อาจใช้เวลา 3 วันจึงทราบผล
วิธี Multiplex RT-PCR คือการตรวจหาภาวะติดเชื้อจากอุจจาระด้วยวิทยาการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งครอบคลุมการตรวจเชื้อแบคทีเรีย 14 ชนิด เชื้อไวรัส 6 ชนิดและปรสิต 4 ชนิด ทั้งยังมีความจำเพาะสูง ทำให้คัดแยกชนิดของเชื้อได้ถึง 24 ชนิดและทราบผลได้ภายใน 2 - 3 ชั่วโมง
อายุรแพทย์ทางเดินอาหาร