พญ. ตวงพร ตุรงค์สมบูรณ์
กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
วัคซีนจัดเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยคุ้มกันเด็กจากโรค แม้จะดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ไม่ควรปล่อยให้เป็นเรื่องที่ห่างไกลตัวเด็ก เพราะเชื้อโรคมีอยู่รอบตัวเรา ดังนั้นเราจึงควรมีเกราะป้องกันที่ดี วันนี้หมอจะกล่าวถึงวัคซีนเด็กพื้นฐานและประเด็นบางเรื่องที่ผู้ปกครองอาจไม่รู้มาก่อน
วัคซีน (Vaccine) เป็นสารที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานแก่เชื้อโรค เมื่อใดก็ตามที่ได้รับเชื้อโรคนั้น ร่างกายก็จะสามารถกำจัดเชื้อโรคได้ดีขึ้น และช่วยลดความรุนแรงจากโรคนั้นได้
วัคซีนบีซีจี (Bacillus Calmette-Guerin : BCG) เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อไมโครแบคทีเรียที่อ่อนกำลัง แพทย์จะให้วัคซีนแก่เด็กตั้งแต่แรกเกิดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อวัณโรค ในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก โดยหลังได้รับวัคซีนอาจมีรอยนูนแดง หรือตุ่มหนองบริเวณที่ฉีด และแผลจะเป็น ๆ หาย ๆ อยู่ราว 3-4 สัปดาห์
ควรรักษาบริเวณแผลให้สะอาดโดยการใช้สำลีสะอาดชุบน้ำเช็ดรอยแผล หลังจากนั้นแผลจะหายและอาจกลายเป็นรอยแผลเป็น อย่างไรก็ตามวัคซีนนี้ไม่เหมาะสำหรับทารกที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง โดยแพทย์จะพิจารณาถึงความเหมาะสมเป็นรายไป
เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีสามารถส่งผลให้เกิดภาวะตับแข็งและมะเร็งตับ วัคซีนชนิดนี้จึงสำคัญสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิด เมื่อเด็กได้รับวัคซีนกระตุ้นตามกำหนด ร่างกายก็สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ โดยเฉพาะในรายที่แม่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งสามารถแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากแม่สู่ลูกได้ตั้งแต่แรกเกิด
โรคคอตีบ บาดทะยัก และไอกรนยังคงเป็นโรคที่พบได้ในกลุ่มคนที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนหรือได้รับวัคซีนไม่ครบ โดยวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน มี 3 ชนิดหลัก ได้แก่
นอกจากนี้ยังมีทั้งที่เป็นแบบวัคซีนเดี่ยว และวัคซีนรวม เช่น รวมกับวัคซีนตับอักเสบบี หรือวัคซีนโปลิโอชนิดฉีด
โรคโปลิโอยังคงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ควรให้ความสำคัญ เนื่องจากก่อให้เกิดความพิการได้ โดยโรคมีที่มาจากการดื่มและการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ หลายคนที่มักได้ยินตอนเด็กอยู่บ่อยครั้งว่าวัคซีนโปลิโอป้องกันแขนขาลีบก็ไม่ใช่เรื่องผิด เนื่องจากเชื้อโปลิโอมีผลให้เซลล์ประสาทไขสันหลังอักเสบและตายไป ซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง วัคซีนโปลิโอมีทั้งชนิดกินและฉีด โดยได้ควรได้รับตั้งแต่อายุ 2 เดือนเป็นต้นไป และสามารถใช้ชนิดฉีดแทนชนิดกินได้ทุกครั้ง
โรคฮิบ (Haemophilus influenzae type b :Hib) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เด็กเล็กเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบปอดอักเสบ และติดเชื้อในกระแสเลือด ถึงขั้นเสียชีวิตหรือพิการได้ มักเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี สามารถเริ่มฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือนขึ้นไป โดยมากอยู่เป็นวัคซีนเข็มรวมที่ให้กับเด็กทารก
ไวรัสโรต้าก่อให้เกิดการติดเชื้อทางเดินอาหารที่มีความรุนแรงโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ปัจจุบันมีวัคซีนโรต้าชนิดหยอดเพื่อทุเลาความรุนแรงจากโรค โดยทั่วไปแบ่งการใช้อยู่ 2 รูปแบบสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 สัปดาห์เป็นต้นไป ได้แก่ ชนิดหยอด 2 ครั้งและชนิดหยอด 3 ครั้ง เมื่อได้รับวัคซีนควรเว้นระยะอย่างน้อย 4 - 10 สัปดาห์/ครั้ง
อ่านเพิ่มเติม :
ปัจจุบันยังคงพบการระบาดของโรคหัด หัดเยอรมัน คางทูมอยู่เป็นระยะ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำ วัคซีนโรคหัด โรคหัดเยอรมันและโรคคางทูม (MMR Vaccine) เป็นวัคซีนที่ผลิตจากเชื้อไวรัสชนิดอ่อนฤทธิ์ลง เพื่อให้สร้างภูมิคุ้มกันต้านโรคทั้ง 3 ชนิดที่มีโอกาสได้รับเชื้อจากการสัมผัสกับผู้ป่วย ผู้ปกครองควรให้เด็กได้รับวัคซีนเข็มแรกเมื่อครบอายุ 9-12 เดือน
โรคไข้สมองอักเสบเจอี (Japanese Encephalitis: JE) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโดยมียุงเป็นพาหะ ปัจจุบันสามารถลดความรุนแรงและการเกิดโรคได้ด้วยวัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี แพทย์มักให้วัคซีนเข็มแรกเมื่อเด็กอายุครบ 9-12 เดือน โดยแบ่งวัคซีนออกเป็น 2 แบบ ได้แก่
วัคซีนเอชพีวีช่วยลูกน้อยป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งปากมดลูกและยังเป็นวัคซีนหลักที่เด็กผู้หญิงทุกคนควรได้รับ อย่างไรก็ตาม ผู้ชายก็สามารถเลือกรับเป็นวัคซีนเสริมเพื่อป้องกันโรคหูดที่อวัยวะเพศ มะเร็งองคชาติ มะเร็งช่องปากและลำคอ มะเร็งทวารหนักได้เช่นกัน โดยเด็กควรได้รับวัคซีนในช่วงอายุ 9 - 14 ปีเพื่อการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันมีวัคซีนหลายชนิด ทั้งแบบ 2, 4 และ 9 สายพันธุ์
อ่านเพิ่มเติม : หลังลูกน้อยได้รับวัคซีน ควรรับมืออย่างไร
เพื่อเสริมเกราะป้องกันแก่ลูกน้อยได้ครอบคลุมโรคมากขึ้น การได้รับ 'วัคซีนเสริม' ก็สำคัญไม่น้อยกว่ากัน
กุมารแพทย์โรคติดเชื้อ