พญ. รติกร พฤกษ์มหาชัยกุล
กุมารเวชศาสตร์
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
เคยได้ยินไหม? ความเชื่อที่ว่า “เด็กเล็กร้องไห้ไม่หยุดในเวลาเดิมทุกวัน อาจเป็นเพราะมองเห็นในสิ่งที่ผู้ใหญ่มองไม่เห็น” แต่ในทางการแพทย์ อาการร้องไห้ดังกล่าวสามารถอธิบายได้ด้วยภาวะที่เรียกว่า “โคลิก (Colic)” ซึ่งพบได้บ่อยในทารก และมีสาเหตุที่สามารถอธิบายได้ทางวิทยาศาสตร์
โคลิก (Colic) หรือโรคปวดท้องอ้อนสามเดือน คือภาวะที่ทารกร้องไห้ต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ผู้ปกครองจึงปลอบให้หยุดร้องได้ยาก มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดิมของแต่ละวัน และอาจกินเวลานานหลายชั่วโมง ส่วนใหญ่พบในช่วงบ่ายถึงค่ำ หรือบางรายอาจร้องยาวถึงกลางดึก แม้ว่ายังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีปัจจัยบางอย่างที่อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น นอกจากนี้อาการโคลิกมักเกิดขึ้นกับทารกแรกเกิด ซึ่งพบบ่อยมากที่สุดในช่วงอายุ 2-3 สัปดาห์ ก่อนอาการจะเริ่มดีขึ้นเมื่อทารกอายุประมาณ 3 เดือน
แม้ว่าสาเหตุของปวดท้องในเกิดภาวะโคลิกจะยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด แต่มีปัจจัยบางอย่างที่อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้
นอกจากอาการร้องไห้หนักแล้ว หากพบว่ามีอาการอื่นเพิ่มเติม ควรรีบพาไปพบแพทย์ด่วน
อุ้มลูกในท่าที่สบาย เช่น อุ้มพาดบ่าหรืออุ้มแนบอกให้รู้สึกอบอุ่น หรืออาจวางทารกให้นอนคว่ำขวางบนตักคุณแม่
เมื่อลูกน้อยมีอาการท้องอืด ไม่สบายท้อง ให้อุ้มพาดบ่าหรือใช้ท่านั่งเอียงเล็กน้อย นวดท้องเบา ๆ และอาจป้องกันการกลืนลมเข้าท้อง โดยการอุ้มทารกและช่วยถือขวดนมให้ถูกต้องไม่ให้มีลมบริเวณจุกที่กำลังดูด, อย่าปล่อยให้ทารกร้องนาน และอย่าป้อนนมมากเกินไป
หากเด็กยังคงร้องไห้ไม่หยุด ให้ลองอุ้มลูกพาดบ่าแล้วโยกตัวเบา ๆ ไกวเปลหรือลูบหลังเบา ๆ ขณะอยู่ในเตียง หรือแม้แต่พาลูกนั่งเล่นในรถเข็น ซึ่งอาจช่วยให้ลูกผ่อนคลาย
สิ่งที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองไม่ควรทำเมื่อลูกร้องไห้หนัก คือ “การเขย่าตัว” เพราะการเขย่าตัวไม่ได้ทำให้ลูกหยุดร้อง โดยเฉพาะในทารกอายุไม่เกิน 3-4 เดือน เนื่องจากศีรษะของทารกเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย และมีสัดส่วนน้ำมากกว่าผู้ใหญ่ อีกทั้งโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณคอยังไม่แข็งแรงมากพอ หากมีการเขย่ารุนแรง ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้า-หลัง หรือซ้าย-ขวา สมองที่อยู่ภายใน ซึ่งมีลักษณะคล้ายก้อนเนื้อในของเหลว อาจเคลื่อนตัวและกระแทกกับกะโหลกศีรษะ ทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อเนื้อสมองได้
นอกจากนี้ เส้นเลือดที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงสมองของทารกยังบอบบาง หากได้รับแรงกระแทกรุนแรง อาจฉีกขาดได้ง่ายและนำไปสู่ภาวะเลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง ซึ่งในกรณีที่รุนแรง อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
กุมารเวชศาสตร์