พญ. สโรบล เจาฑะเกษตริน
อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
วัคซีนนิวโมคอคคัสมักเป็นที่รับรู้ว่าเป็น ‘วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ’ อยู่บ่อยครั้ง แต่ในความจริงแล้วเชื้อนิวโมคอคคัสสามารถก่อโรคได้หลายชนิดตามแต่สภาพร่างกายของบุคคล อาการในบางรายอาจเบาลงใน 3 วัน แต่บางรายอาจรุนแรงจนเข้าสู่ภาวะไอพีดี (IPD) และเกิดโรคอื่นตามมา หมอจึงอยากสร้างความเข้าใจเรื่องวัคซีนนิวโมคอคคัสในฉบับเข้าใจง่าย
โรคติดเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสหรือ ‘Streptococus pnuemoniae’ พบได้บ่อยตลอดฤดูฝนถึงฤดูหนาวและสามารถติดต่อได้ผ่านการหายใจ เมื่อเชื้อเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและทำลายผนังเยื่อบุได้ เชื้อจะเริ่มเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นโรคได้หลายชนิด เช่น ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด
เด็กเล็ก ผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวเป็นกลุ่มเปราะบางที่ควรได้รับการดูแล เด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปียิ่งควรระวัง เพราะภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง หากเป็นผู้สูงอายุยิ่งควรได้รับการใส่ใจ เพราะภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง กรณีเป็นโรคประจำตัวอื่น เมื่อได้รับเชื้อก็ยิ่งทำให้สภาพร่างกายอ่อนแอกว่าเดิม
‘วัคซีน’ จึงยังคงเป็นยาทางเลือกสำหรับป้องกันก่อนเกิดโรค ปัจจุบันแพทย์สามารถใช้วัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้ 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดคอนจูเกต (PCV) และชนิดโพลีแซคคาไรด์ (PPSV)
วัคซีนชนิดคอนจูเกต (Pneumococcal Conjugate Vaccine) เป็นวัคซีนสำหรับกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สามารถต้านเชื้อนิวโมคอคคัสตามจำนวนสายพันธุ์ PCV10, PCV13, PCV15 และ PCV20
วงการแพทย์ได้พัฒนาวัคซีนชนิด Prevenar 20 หรือ PCV 20 (Pneumoccoccal Conjugate Vaccine) เพื่อป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้ครอบคลุม 20 สายพันธุ์และลดโอกาสการติดเชื้อจากสายพันธุ์ดื้อยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถรับวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 2 เดือนขึ้นไป
วัคซีน PCV ได้รวมสายพันธุ์จำนวน 20 ชนิด ได้แก่ 1, 3, 4, 5, 6A, 6B, 7F, 8, 9V, 10A, 11A, 12F, 14, 15B, 18C, 19A, 19F, 22F, 23F และ 33F
วัคซีนชนิดโพลีแซคคาไรด์ (Pneumococcal Polysaccharide Vaccine) เป็นวัคซีนที่ป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสได้ครอบคลุม 23 สายพันธุ์ (PPSV23) เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อชนิดรุนแรง
อ่านเพิ่มเติม หลังลูกน้อยได้รับวัคซีน จะรับมืออย่างไร
เนื่องจาก ‘วัคซีน’ เป็นเกราะที่ช่วยคุ้มกันเราจากโรคในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการติดเชื้อ การหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด การไม่ใกล้ชิดผู้ป่วยและการรักษาความสะอาดอยู่เสมอเป็นสิ่งสำคัญเพื่อลดการได้รับเชื้อ นอกจากนี้การได้รับวัคซีนป้องกันโรคทางเดินหายใจอื่นร่วม เช่น ไข้หวัดใหญ่ มีส่วนลดโอกาสการติดเชื้อได้อีกชั้น เนื่องจากบางอย่างสามารถเกิดขึ้นได้
อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ