นพ. สุชาติ ตรีทิพย์ธิคุณ
จิตเวชศาสตร์
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
“โรคซึมเศร้า” เป็นความผิดปกติทางอารมณ์ที่ส่งผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจอย่างลึกซึ้ง โดยอาจเริ่มจากอาการเล็กน้อย ก่อนพัฒนากลายเป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง หมอจึงอยากให้ข้อสังเกตสัญญาณบ่งอาการของโรคซึมเศร้าได้สำรวจตนเองและคนใกล้ชิดเพื่อหาทางดูแลใจไปพร้อมกัน
สถิติจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติช่วงไตรมาสต์ที่ 1 ปี 2567 ได้เผยให้เห็นว่ามีผู้ป่วยโรคจิตเวชกว่า 2.6 ล้านคน โดยแยกเป็นผู้ที่เสี่ยงป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 17.50% กลุ่มที่มีความเครียดสูง 15.48% และกลุ่มเสี่ยงฆ่าตัวตาย 10.63% สาเหตุหลักมาจากความเหงา ความโดดเดี่ยว ความกดดันจากการใช้ชีวิตและการไม่ได้รับการเอาใจใส่จากครอบครัวและคนรอบข้าง
การเข้าพบจิตแพทย์และได้รับการดูแลจากคนรอบข้างที่พร้อมเข้าใจจึงเป็นกุญแจสำคัญของการฟื้นฟูสุขภาพกายและจิต
ผู้นั้นจะเริ่มรู้สึกเศร้านานกว่า 2 สัปดาห์ โดยสิ่งนั้นอาจมาจากเหตุการณ์ในชีวิต หลายครั้งจะรู้สึกเหงา รู้สึกว่าตนไร้ค่า เป็นภาระ ไม่ชอบตัวเอง ไม่ชอบสภาพชีวิตปัจจุบัน มองสถานการณ์แย่กว่าความเป็นจริงและสูญเสียแรงจูงใจในการทำสิ่งต่าง ๆ
อาการไร้เรี่ยวแรงและอ่อนเพลียเป็นสิ่งที่ตามมา ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่สดชื่น เชื่องช้า และเซื่องซึมอยู่เป็นระยะ
โรคซึมเศร้าเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับสมดุลเคมีในสมอง เมื่อเกิดโรคจึงส่งผลกระทบต่อความอยากอาหาร ความรื่นรมย์ของชีวิตและการพักผ่อน ผู้ป่วยอาจนอนไม่หลับและอยากอาหารน้อยลง บางรายอาจอยากอาหารมาก นอนหลับมากแต่ยังรู้สึกไร้เรี่ยวแรง นอกจากนี้น้ำหนักอาจลดลงโดยไม่ได้เกิดจากการควบคุมอาหาร
งานวิจัยหลายชิ้นยังแสดงให้ว่าโรคซึมเศร้ามีส่วนสัมพันธ์กับระบบย่อยอาหาร โดยเฉพาะลำไส้ซึ่งเปรียบเสมือนสมองที่ 2 ของร่างกาย เนื่องจากลำไส้สามารถสร้างสารสื่อประสาท ‘เซโรโทนิน’ ซึ่งช่วยให้เรามีพลังและมีความสุข เมื่อระบบย่อยอาหารมีปัญหา ร่างกายจึงขาดสมดุลทางอารมณ์ หากปล่อยให้ดำเนินอย่างต่อเนื่อง ประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันโรคก็ลดลงไปด้วย
ผู้ป่วยไม่เพียงแต่เริ่มขาดความสุขกับสิ่งที่เคยสนใจ แต่ยังรวมถึงการขาดแรงจูงใจในการทำอะไรให้สำเร็จลุล่วง นอกจากนี้ยังทำให้ไม่มีสมาธิจดจ่อ การคิดอ่านและเคลื่อนไหวก็ช้าตามไปด้วย
หากขาดแรงใจในการใช้ชีวิตและเริ่มคิดถึงความตายอยู่เรื่อย ๆ ก็มีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้า บางรายที่มีอาการรุนแรงมากจะมีอาการหูแว่ว เช่น ได้ยินเสียงคนพูดตำหนิ คิดว่ามีคนมองตนเองในทางที่ไม่ดี สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดกระวนกระวายใจและนำไปสู่การทำสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา
โรคซึมเศร้าเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามและเกิดขึ้นได้กับทุกคน การยอมรับว่าจิตใจเราเริ่มอ่อนแอก็เป็นความเข้มแข็งแบบหนึ่ง ที่อย่างน้อย.. เราก็ยังรักตัวเองอยู่ ถ้าวันไหนที่ไม่สบายใจ ก็ยังมีคนคอยรับฟัง หากวันนี้ยังรู้สึกเศร้าใจก็ยังมีคนคอยอยู่เคียงข้าง การเข้ามาพบจิตแพทย์นั้นก็ถือเป็นความกล้าและการที่ยังมีลมหายใจก็คือความโชคดี เพราะแม้ในวันที่มืดมนที่สุด ความหวังก็ยังคงอยู่กับเราเสมอ
จิตเวชศาสตร์