นพ. พีรธัช โชคมั่งมีพิศาล
กุมารเวชศาสตร์ ระบบประสาทวิทยา
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
รู้หรือไม่? การแสดงออกความรักในวัยผู้ใหญ่ล้วนได้รับอิทธิพลจากรูปแบบความผูกพันในวัยเด็ก (Attachment Style) โดยทฤษฎีนี้เชื่อว่า รูปแบบการเลี้ยงดูและการตอบสนองของพ่อแม่หรือผู้ปกครองต่อเด็กมีผลต่อการสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ส่วนตัวในวัยผู้ใหญ่ รวมถึงความสัมพันธ์ในการทำงานด้วย
การเลี้ยงดูที่มั่นคงช่วยให้เด็กมีความรู้สึกปลอดภัยและไว้วางใจผู้อื่น ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่มั่นคงในอนาคต โดยรูปแบบความผูกพัน แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
คนที่มีรูปแบบความผูกพันแบบวิตกกังวลมักจะรู้สึกไม่มั่นใจในความสัมพันธ์และมักต้องการความสนใจจากคนรอบข้างอยู่เสมอ พวกเขามีความกลัวว่าจะถูกละเลยและมักรู้สึกกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ทำให้ต้องการความชัดเจนจากคู่ของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง
คนที่มีรูปแบบความผูกพันแบบหมางเมินมักจะไม่ชอบการแสดงความรู้สึกหรือความใกล้ชิดกับผู้อื่น พวกเขามีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ที่มีความผูกพันลึกซึ้งและมักไม่พึ่งพาผู้อื่น ทั้งยังไม่ชอบให้ใครมาคาดหวังให้พึ่งพาพวกเขาสาเหตุของท่าทีนี้มักเกิดจากการต้องการปกป้องตัวเองจากความเจ็บปวดในอดีต
คนที่มีรูปแบบความผูกพันแบบยุ่งเหยิงมักจะมีความกลัวในการสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด เนื่องจากในวัยเด็กอาจเคยประสบกับประสบการณ์ที่เจ็บปวด เช่น การถูกทอดทิ้งหรือการถูกทำร้าย ซึ่งทำให้พวกเขามีความรู้สึกขัดแย้งระหว่างต้องการใกล้ชิดกับผู้อื่นและกลัวที่จะถูกทำร้ายอีกครั้ง
คนที่มีรูปแบบความผูกพันแบบมั่นคงจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจในความสัมพันธ์ของพวกเขา พวกเขามีความสมดุลระหว่างการให้และการรับความรัก โดยไม่กลัวที่จะเปิดใจและอยู่คนเดียวหากจำเป็น พวกเขามีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งและเป็นตัวของตัวเองในขณะเดียกัน
พ่อแม่ที่มีท่าทีที่มั่นคงและสามารถจัดการอารมณ์ของตัวเองจะช่วยให้เด็กเรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์ที่มีความสุขและมั่นคงในระยะยาว
กุมารเวชศาสตร์ ระบบประสาทวิทยา