โรคภูมิแพ้ผิวหนัง พบมากในเด็กและเกิดได้ในผู้ใหญ่

May 08 / 2025

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

 

 

 

 

 

 

 

     ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis หรือ Atopic eczema)  เป็นโรคที่มีการอักเสบของผิวหนัง ทำให้มีอาการคันเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง โดยมักมีประวัติคนในครอบครัวและอาจพบว่ามีอาการภูมิแพ้ของระบบอื่นในร่างกายด้วย เช่น หอบหืด จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ภูมิแพ้ที่ตา โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังมักจะเป็นอาการแสดงแรกก่อนที่มีอาการภูมิแพ้ประเภทอื่น ๆ ตามมา

 

ความรุนแรงของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

     ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นหนึ่งในโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ แต่พบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง และพบได้ทั่วโลก โดยอาจพบถึงร้อยละ 20 ในเด็กและร้อยละ 2 – 8 ในผู้ใหญ่ โรคมักจะเริ่มแสดงอาการผิดปรกติตั้งแต่ในวัยเด็ก ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมักมีอาการแสดงต่อเนื่องจนไปถึงวัยผู้ใหญ่ ผู้ป่วยโรคนี้มีความบกพร่องของการสร้างเซลล์ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังสามารถรับสิ่งกระตุ้นจนทำให้เกิดอาการอักเสบของผิวหนัง ทำให้ผิวแห้ง แดง สากอักเสบและกลายเป็นรอยแตก

 

ปัจจัยที่สามารถกระตุ้นและทำให้ผื่นกำเริบ

     ปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดผื่นกำเริบได้มีทั้งปัจจัยทางกายภาพ (Physical) ปัจจัยทางเคมี (Chemical) เช่น ความเป็นกรดด่าง สารทำความสะอาด สารเคมี ทางชีวภาพ (Biological) เช่น สารก่อภูมิแพ้ จุลชีพ

 

1.  ควันบุหรี่

     พบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่กับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังทั้งในเด็กวัยรุ่นและในผู้ใหญ่ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเพิ่มมากขึ้น

 

2.  สารก่อการแพ้ทางอากาศ

     สารก่อการแพ้ทางอากาศทำให้ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบ โดยสามารถเกิดได้จากความบกพร่องของผิวหนัง จึงทำให้สารก่อการแพ้สามารถผ่านผิวหนังและทำให้เกิดการอักเสบได้ สารก่อการแพ้ที่พบบ่อย ได้แก่ ไรฝุ่น

 

3.  ขนสัตว์

     ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่แสดงชัดเจนว่าขนสุนัขทำให้อาการผื่นภูมิแพ้กำเริบได้ แต่ถ้าได้สัมผัสกับขนสัตว์หรือสัตว์เลี้ยงแล้วทำให้เกิดอาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนังกำเริบก็ควรให้หลีกเลี่ยง

 

4.  สารสัมผัส

   ;  สารสัมผัสควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่อาจทำให้เกิดอาการแพ้สัมผัส เช่น น้ำหอม สารกันบูด สารทำความสะอาด เครื่องสำอาง ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก

 

5.  การแพ้อาหาร

     เราสามารถพบการแพ้อาหารร่วมไปกับภาวะผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้ อาหารที่มักทำให้เกิดอาการแพ้ ได้แก่ ไข่ นมวัว ถั่วลิสง ถั่วเหลือง แป้งสาลี ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคลและกลุ่มอายุ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก

 

 

 

 

ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

 

 

 

การวินิจฉัยและการรักษา

     แพทย์จะเริ่มถามประวัติครอบครัว สำรวจลักษณะและตำแหน่งที่ปรากฏโรค หลังจากนั้นจึงวินิจฉัยคัดแยกโรค เช่น Skin Patch Test การเจาะเลือดส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อวางแผนการรักษาที่ตรงกับตัวโรค

 

วิธีดูแลและลดอาการของโรค

  • ใส่เสื้อผ้าโปร่งสบาย
  • ผ่อนคลายความเครียดด้วยกิจกรรม
  • ควรอาบน้ำด้วยอุณหภูมิห้องไม่เกิน 5 – 10 นาที
  • ควรใช้มอยเจอร์ไรเซอร์เติมความชุ่มชื้นแก่ผิว
  • ละการแคะ แกะ เกาและใช้ยาตามที่แพทย์ได้จัดไว้
  • หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้โรคกำเริบ เช่น นม แป้งสาลี ไรฝุ่น ละอองเกสร
  • ไม่ใช้สบู่ที่เป็นกรนอ่อนและผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีน้ำหอมหรือสารกันเสีย เพราะอาจก่ออาการแพ้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีดูแลผิวที่เหมาะสม

 

คำแนะนำเรื่องการใช้ยาจากกุมารแพทย์

     การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาแก้แพ้ ยาแก้คัน ยาแก้อักเสบและยากดภูมิต้านทานเป็นการรักษาปลายเหตุซึ่งควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ กรณีแพ้อาหารควรหลีกเลี่ยงและพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย

 

 

แหล่งอ้างอิง

เทอดพงศ์ เต็มภาคย์. (ม.ป.ป). What's New in Atopic Dermatitis Management?. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2568,

     จาก //bit.ly/435W2M0

 

สล็อต