เจ็บคอก็เสี่ยง “โรคหัวใจรูมาติก” เกิดจากอะไร ป้องกันได้ไหม?

May 08 / 2025

โรคไข้รูมาติก

 

 

 

     เวลาลูกไม่สบาย คอแดง มีไข้สูง หลายคนอาจคิดว่าเป็นแค่หวัดธรรมดา แต่รู้หรือไม่ว่า…อาการเล็ก ๆ อย่าง "คออักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย" อาจเป็นจุดเริ่มต้นของโรคร้ายแรงอย่าง ไข้รูมาติก ที่นำไปสู่ โรคหัวใจรูมาติก ในเด็กได้!
 

 

โรคไข้รูมาติก เกิดจากอะไร

     โรคไข้รูมาติกเกิดจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อแบคทีเรีย สเตรปโตคอคคัส กลุ่มเอ (Group A Streptococcus) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคคออักเสบ (Strep throat) ไข้อีดำอีแดง (Scarlet fever) และโรคผิวหนังติดเชื้อ (Impetigo) โดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะตอบสนองต่อการติดเชื้อดังกล่าวเกิดความผิดพลาด ส่งผลให้เกิดการอักเสบหรือบวมที่บริเวณ ข้อต่อ สมอง ผิวหนัง และที่ร้ายแรงที่สุดคือ “ลิ้นหัวใจ”
 

อาการมักเกิดขึ้นหลังได้รับเชื้อ 1-5 สัปดาห์

     แม้ว่าอาการติดเชื้อเดิมจะดีขึ้นแล้ว แต่อาจเกิดอาการไข้รูมาติกตามมา หลังการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสกลุ่ม A ภายใน 1-5 สัปดาห์ นอกจากนี้ผู้ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้เช่นกัน

 

อาการของไข้รูมาติก

  • มีไข้
  • ปวดตามข้อ โดยเฉพาะหัวเข่า ข้อเท้า ข้อศอก และข้อมือ
  • คอเรีย (Chorea) — การเคลื่อนไหวของร่างกายที่กระตุกและควบคุมไม่ได้
  • อ่อนเพลีย หรือรู้สึกเหนื่อยล้า
  • มีก้อนเล็ก ๆ ใต้ผิวหนังบริเวณใกล้ข้อต่อ ซึ่งมักจะไม่เจ็บ
  • มีผื่นวงแหวนสีชมพูตรงกลางใส (พบได้น้อย)
  • อาจได้ยินเสียงฟู่จากหัวใจ

 

 

 

โรคไข้รูมาติก

 

 

 

อวัยวะที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ “หัวใจ”

หากไม่ได้รับการรักษาไข้รูมาติกอย่างทันท่วงที อาจนำไปสู่ “โรคหัวใจรูมาติก” ซึ่งเป็ นภาวะแทรกซ้อนที่ลิ้นหัวใจระหว่างห้องหัวใจเสื่อมสภาพหรือทำงานผิดปกติ โรคหัวใจรูมาติกอาจทำให้หัวใจอ่อนแอลง กรณีที่รุนแรงอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหัวใจ
 

  • เจ็บหน้าอก
  • หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • หายใจเหนื่อยหรือหายใจลำบาก
  • มีเสียงฟู่ของหัวใจใหม่ (Heart murmur)
  • หัวใจโตผิดปกติ
  • มีน้ำสะสมรอบหัวใจ

 

คนที่เคยเป็นไข้รูมาติกมาก่อน มีโอกาสเป็นซ้ำ

     ผู้ที่เคยเป็นไข้รูมาติกมาก่อนจะมีความเสี่ยงกลับมาเป็นซ้ำได้ง่ายขึ้น หากติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม A สเตรปโตคอคคัส (Group A Strep) อีกครั้ง

 

วิธีการป้องกันและรักษา

     ไข้รูมาติกเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่ม A สเตรปโตคอคคัส หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาการติดเชื้อ เช่น คออักเสบ หรือผิวหนังอักเสบ อย่างทันท่วงทีโดยใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม ก็สามารถป้องกันไม่ให้ โรคพัฒนาไปเป็นไข้รูมาติกและโรคหัวใจรูมาติก

 


คำแนะนำจากกุมารแพทย์โรคหัวใจ

     นอกจากนี้การป้องกันซ้ำในผู้ที่เคยมีไข้รูมาติกมาก่อน แพทย์อาจแนะนำให้ รับยาปฏิชีวนะอย่างต่อเนื่อง (Secondary Prevention) เพื่อป้องกันการติดเชื้อครั้งใหม่และลดความเสี่ยงของโรคหัวใจในระยะยาว

 

 

สล็อต