นพ. สิริศักดิ์ บูรณวัฒนาโชค
ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ส่องกล้องข้อไหล่และข้อเข่า
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
โรคข้อเข่าเสื่อมยังเป็นหนึ่งโรคที่พบบ่อยในผู้สูงวัย เมื่อร่างกายก้าวขึ้นเลข 4 ร่างกายก็เริ่มไม่สมดุลอย่างเคย ยิ่งเป็นเรื่องกระดูกซึ่งเกี่ยวกับความมั่นคง ตั้งตรง และแข็งแรงของร่างกายแล้ว เมื่อแตก หักและเสื่อมสภาพยิ่งปวดร้าว ทำเช่นไรจึงจะทุเลาอาการหนักเป็นเบาลงได้ แพทย์ด้านกระดูกจากศูนย์กระดูกและข้อพร้อมพาพบคำตอบ
เนื่องจากข้อเข่าประกอบด้วยกระดูก 3 ส่วน ได้แก่ กระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้งและกระดูกสะบ้า เมื่อเรางอหรือยืดเข่าจะปรากฏส่วนที่มนตรงปลายสุดของกระดูกต้นขา ซึ่งจะหมุนอยู่บนกระดูกส่วนหน้าแข้งและติดกับกล้ามเนื้อด้านหน้าของเข่า ส่วนที่มนดังกล่าวช่วยให้เราเคลื่อนไหวและลดการเอียงหรือบิดของกล้ามเนื้อ
โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) คือภาวะความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อซึ่งลึกถึงชั้นโครงสร้างในข้อเข่า เมื่อผิวข้อของกระดูกอ่อนสึกหรอจะส่งผลให้ข้อฝืด หากขยับจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูก กรณีที่ปล่อยไว้นานจนเริ่มเสื่อมรุนแรงจะเกิดอาการปวด เดินลำบาก ขึ้น - ลงบันไดไม่ได้ เหยียดหรืองอเข่าได้ไม่สุด ก่อนขาลีบ เข่าโก่งจนผิดรูป
อาการปวดที่เกิดจากภาวะข้อเข่าเสื่อมนี้เกิดจากสาเหตุ
สถิติเมื่อปี 63 พบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่า 6 ล้านคน ซึ่งเกิดจากการใช้งานข้อเข่าหนักตั้งแต่สมัยหนุ่มสาว และมีแนวโน้มเป็นมากขึ้นเมื่อเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย นอกจากนี้ยังพบว่าโรคข้อเข่าเสื่อมยังเกี่ยวโยงกับความผิดปรกติอื่น เช่น พันธุกรรมแต่กำเนิด โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
กรณีที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวมาก แพทย์จะแนะนำให้ลดน้ำหนักตัวเพื่อลดอาการปวดจากการกดทับของผิวข้อเข่าและใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงข้อเข่าร่วมเครื่องมือช่วยเดิน หลังจากนั้นจึงใช้ยาลดการอักเสบและยาเพิ่มน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าเพื่อลดการเสียดสี ในรายที่อักเสบมาก ให้ประคบเย็นและพักเข่าระหว่างเดิน
กรณีที่ผู้ป่วยมีเข่าเสื่อมระยะรุนแรงจนทำกิจวัตรประจำวันได้ไม่เหมือนเดิม การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมพร้อมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดจึงเป็นการรักษาทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสูง โดยแพทย์จะวินิจฉัยสภาพและวัดขนาดข้อเข่าเทียมแทนผิวกระดูกที่ก่อโรคให้กลับคืนสมดุลและเคลื่อนไหวได้เป็นธรรมชาติ
ปัจจุบันการแพทย์ได้พัฒนาเทคนิคการผ่าตัดโดยมี 'หุ่นยนต์' เป็นอีกหนึ่งผู้ช่วยศัลยแพทย์ให้ดำเนินการรักษาได้อย่างแม่นยำขึ้น ลดเวลาฟื้นตัวและกลับมาเคลื่อนไหวได้ดียิ่งขึ้น เริ่มแรกแพทย์จะให้หุ่นยนต์สร้างภาพข้อเข่าแบบ 3 มิติเพื่อใช้กำหนดตำแหน่งข้อเข่าเทียมและสมดุลเนื้อเยื่อข้อเข่า หลังจากนั้นจึงเริ่มการผ่าตัดโดยมีหุ่นยนต์ช่วยประเมินผลแบบ Real-time และช่วยตรวจประเมินครั้งสุดท้ายเพื่อให้ศัลยแพทย์เก็บงานได้อย่างเรียบร้อยที่สุด
ผู้ป่วยใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดควบคู่กับประคบอุ่นเพื่อลดอาการตึงของกล้ามเนื้อและเอ็นรอบเข่า ผู้ป่วยยังสามารถทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูร่างกายได้ไวและสมบูรณ์หลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า
อ่านเพิ่มเติม: รวบท่ากายบริหารเบื้องต้นช่วยชะลอข้อเข่าเสื่อม
การรักษาข้อเข่าเสื่อม ควรลดน้ำหนักเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ถ้าเข่าเสื่อมหรือขาโก่งมาก อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ส่องกล้องข้อไหล่และข้อเข่า