เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ช่วงนี้ในโลกโซเชียลมีแม่บ้านมือใหม่ ที่เริ่มหัดทำอาหารกันเยอะ แน่นอนว่ากว่าจะทำอาหารกันจนคล่อง ร่องรอยบาดแผลจากมีดบาดบ้าง น้ำมันกระเด็นใส่บ้าง ที่ทิ้งไว้คงมีเพียบ แล้วเคยสงสัยกันไหม?...ว่า บาดแผลที่เกิดแต่ละครั้ง บางครั้งก็มีแผลเป็น แต่บางครั้งกลับไม่มีแผลเป็น
ปรกติผิวหนังของเราประกอบด้วยชั้นหนังกำพร้าที่อยู่นอกสุด ลึกลงไปจะเป็นชั้นหนังแท้ หากบาดแผลที่เกิดขึ้นลึกถึงชั้นหนังแท้ หรือเป็นแผลติดเชื้อถึงชั้นหนังแท้ก็ทำให้เกิดแผลเป็นขึ้นได้หรือใครที่ชอบแกะสะเก็ดแผลบ่อย ๆ ก็ทำให้เกิดแผลเป็นได้เช่นกัน
.
หรือใครที่มีการซ่อมแซมที่ผิดปกติก็จะเกิดแผลเป็นคีลอยด์ได้ง่ายด้วย ใครที่รู้ตัวว่าเป็นแผลคีลอยด์ง่าย ก็ต้องระวังไม่ให้ร่างกายบาดเจ็บ
การรักษาแผลเป็นแต่ละชนิดมีขั้นตอนการรักษาแตกต่างกัน
หากเราดูแลตั้งแต่มีบาดแผลใหม่ ๆ ก็จะช่วยให้แผลเป็นเกิดขึ้นได้ยาก อันดับแรกต้องดูแลแผลให้สะอาด ไม่แกะหรือเกาแผลมาก และหลีกเลี่ยงการโดนน้ำจนกว่าแผลจะเริ่มแห้ง หากเป็นแผลใหญ่หรือมีการอักเสบควรเข้าพบแพทย์ผิวหนังเพื่อตรวจดูตั้งแต่เนิ่น เมื่อแผลเป็นสะเก็ดก็ห้ามแกะเด็ดขาด ที่สำคัญควรทายารักษาแผลเป็นช่วงที่แผลเริ่มสมานก็จะช่วยให้แผลเป็นเกิดขึ้นได้ยาก หรือเห็นแค่รอยแผลเป็นจาง
ถ้าเป็นแผลแต่ไม่อยากเป็นแผลเป็น ควรทายาตั้งแต่เป็นแผลใหม่ ๆ ถึงจะรักษาได้ดีที่สุด
แก้ไข
13/11/2566