เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
แผนกนมแม่ โรงพยาบาลรามคำแหง
โรงพยาบาลรามคำแหง มีนโยบายสนับสนุนให้คุณแม่ได้เลี้ยง ลูกด้วยน้ำนมแม่ เพราะในน้ำนมแม่นั้น มีสารอาหารที่ครบถ้วน มีภูมิต้านทานโรคให้กับลูกน้อย เด็กที่ได้รับน้ำนมแม่จะมีสุขภาพแข็งแรง ฉลาด พัฒนาการสมวัย แต่ทำอย่างไรที่คุณแม่จะมีน้ำนมเพียงพอสำหรับลูกน้อย หรือคุณแม่มือใหม่ที่เพิ่งคลอดบุตรอาจจะมีคำถามเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้ประสบความสำเร็จต้องทำอย่างไร อาการคัดตึงที่เต้านมต้องทำอย่างไร
เรามีความพร้อมในการให้บริการ ให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ ในการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ เช่น ท่อน้ำนมอุดตัน ภาวะเต้านมอักเสบ จุดขาวที่หัวนม เพื่อให้คุณแม่สามารถให้นมลูกน้อยได้นานที่สุด สอนวิธีเข้าเต้าอย่างถูกวิธี การนวดลดอาการปวด และการทำอัลตราซาวด์เต้านมเพื่อลดความเจ็บ เป็นต้น นอกจากนั้นแล้วยังให้บริการรับปรึกษาปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังจากคลอดบุตรภายในห้องพักผู้ป่วยอีกด้วย โดยทีมแพทย์ พยาบาล บุคลากรประจำแผนกนมแม่ที่พร้อม ด้วยประสบการณ์ และการฝึกอบรมเฉพาะทาง
อาการเจ็บบริเวณหัวเต้านมหรือหัวนมแตกอาจมีสาเหตุมาจากแม่อุ้มลูกให้นมไม่ถูกต้อง ทำให้ลูกอมไม่ลึกถึงลานหัวนมทำให้ดูดแต่หัวนมแม่ หรือลูกดูดนมแรงมากและนานเกินไปในขณะที่แม่มีน้ำนมน้อย ทำให้เจ็บหัวนมจึงเป็นเหตุให้แม่ทนให้ลูกดูดนมไม่ไหว หรือภาวะพังผืดใต้ลิ้นของลูก ก็สามารถทำให้เกิดภาวะหัวนมแตกได้
ข้อแนะนำ อุ้มลูกให้นมอย่างถูกต้องและเหมาะสม ถูกวิธีก่อนให้ลูกดูดนม เมื่อลูกอ้าปากกว้างเคลื่อนศีรษะลูกเข้าหาเต้านมแม่โดยเร็ว เพื่อให้ลูกอมได้ลึกถึงลานหัวนม
อาการคัดดังกล่าวเกิดจากการสร้างน้ำนมมาก แต่ไม่สามารถระบายน้ำนมออกได้ทัน จึงเกิดอาการคัด ลักษณะเต้านมจะร้อน ผิวแดง แข็ง และเจ็บ ทำให้คุณแม่ปวดมาก และอาจทำให้มีไข้ได้
ข้อแนะนำ ประคบเต้านมด้วยน้ำอุ่นจัดประมาณ 5-10 นาที หรือข้าวสารประคบร้อน โดยน้ำข้าวสารใส่ในผ้าเช็ดหน้า ประมาณข้าว 2 ถ้วยตวง และนำเข้าอุ่นร้อนในไมโครเวฟนานประมาณ 2 นาที ความร้อนปานกลาง นวดคลึงเต้า ถ้าปวดมากกินยาแก้ปวดเพื่อลดอาการปวด หากให้ลูกดูดนมได้ควรอุ้มลูกดูดนมแม่อย่างถูกต้อง และให้ลูกดูดนมแม่บ่อยขึ้นจะช่วยทุเลาอาการคัดลง หลังจากนั้นให้ระบายน้ำนมออกโดยการบีบน้ำนมออกด้วยมือ หรือใช้เครื่องปั๊มนม
อาการเต้านมอ้กเสบเกิดจากการมีน้ำนมค้างในเต้านมนาน และมีการติดเชื้อร่วมด้วยผิวหนังบริเวณเต้านม แดงบางส่วน คลำได้ก้อนแข็ง เจ็บมากมีไข้และอ่อนเพลียอาจเกิดจากการที่คุณแม่ให้ลูกดูดนมไม่บ่อย หรือดูดนมผิดวิธีการให้ลูกดูดนมในระยะสั้นๆ และแม่ไม่มีเวลาปั๊มน้ำนมออก หรืออาจเกิดจากการไหลของน้ำนมบางส่วนของเต้านมไม่ดีซึ่งอาจเป็นผลมาจากลูกดูดนมไม่มีประสิทธิภาพ แม่กดเต้านมไว้ในขณะให้ลูกดูดนมแม่นอนทับเต้านมเป็นเวลานานหรือการใส่เสื้อชั้นในที่คับไม่พอดี
ข้อแนะนำ ระบายน้ำนมออกให้เร็วที่สุด โดยให้ลูกดูดบ่อยสม่ำเสมอและดูดอย่างถูกวิธีให้ลูกดูดข้างที่มีปัญหาก่อน จัดท่าให้ลูกดูดนมโดยให้คางอยู่ตรงกับก้อนที่คลำได้ถ้าปวดมากกินยาแก้ปวดได้ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง ควรปรึกษาแพทย์หรือแผนกนมแม่
นอกจากนี้ยังมีคำถาม หรือข้อกังวลของคุณแม่แต่ละท่านแตกต่างกันออกไป หากคุณแม่ยังมีข้อสงสัยอื่น แผนกนมแม่ โรงพยาบาลรามคำแหง พร้อมให้คำปรึกษาและตอบคำถามต่างๆ ทุกเรื่องเกี่ยวกับการให้นมแม่ เราพร้อมเสมอที่จะพูดคุยและให้คำปรึกษาเพื่อให้คุณแม่คลายความกังวลสามารถให้นมแด่ลูกน้อยอย่างมีความสุข
เมื่อมีปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แผนกนมแม่ โรงพยาบาลรามคำแหง ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเหลือโดยทีมแพทย์ พยาบาลและบุคลากรที่ได้รับการอบรมเฉพาะทางด้านนมแม่