เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
อุบัติเหตุและภาวะฉุกเฉินในเด็กเป็นสถานการณ์ที่ต้องการการดูแลอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายที่รุนแรงต่อสุขภาพของเด็ก การรู้จักลักษณะอาการที่ควรได้รับการรักษาพยาบาลทันทีจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในบทความนี้ เราจะนำเสนออุบัติเหตุและภาวะฉุกเฉินที่พ่อแม่หรือผู้ดูแลควรระวัง และต้องรีบพาเด็กไปโรงพยาบาลโดยทันทีเพื่อการรักษาอย่างเหมาะสม
เมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับการทานสารพิษหรือยาที่เกินขนาด หรือในกรณีที่เกิดการบาดเจ็บรุนแรงจนทำให้เลือดออกไม่หยุด แม้ว่าจะมีการพยายามห้ามเลือดด้วยการกดหรือใช้ผ้าก็ยังไม่สามารถหยุดเลือดได้ การส่งตัวเด็กเพื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลอย่างเร่งด่วนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง
การได้รับการดูแลจากแพทย์ที่ชำนาญทันทีสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับสารพิษหรือการสูญเสียเลือดในปริมาณมาก ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กในระยะยาวได้
'สมองจะขาดออกซิเจนเพียงแค่ 4 นาที หลังจากนั้นจะได้รับความเสียหายรุนแรง' ภาวะหมดสติในเด็กถือเป็นอาการฉุกเฉินที่ต้องได้รับการดูแลทันที เนื่องจากอาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การบาดเจ็บที่ศีรษะ การขาดออกซิเจน การติดเชื้อรุนแรง หรือโรคหัวใจ การหมดสติเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าระบบประสาทหรือการทำงานของสมองอาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง การตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกจะลดลงหรือไม่ตอบสนองเลย หากพบว่าผู้ป่วยไม่หายใจยิ่งเข้าสู่ภาวะอันตราย ซึ่งต้องได้รับการกู้ชีพเบื้องต้นอย่างเร่งด่วน (CPR)
หากเด็กหมดสติในสถานการณ์ใด ๆ ให้ประเมินผู้ป่วยก่อนว่าสลบจากอะไร เช่น ไฟช็อต เป็นลม ซึ่งผู้ช่วยเหลือควรเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังสถานที่ปลอดภัยก่อน หลังจากนั้นจึงเริ่มตรวจเบื้องต้น เช่น
หากเด็กถูกสัตว์มีพิษ เช่น งูกัด แมลงต่อยหรือถูกทำร้ายจนเกิดอันตรายรุนแรงภายใน 30 นาทีจนแสดงอาการไข้ ปวดข้อ ปวดศีรษะ ลมพิษขึ้นทั้งตัว แน่นในคอ ในอก บวมมาก หมดสติ ผู้ช่วยเหลือควรส่งเด็กเข้าโรงพยาบาลทันที กรณีที่ได้รับการอบรบการปฐมพยาบาล ผู้ช่วยเหลือควรปฐมพยาบาลผู้ป่วยก่อนนำส่งตัว
หากเด็กมีอาการชักจากไข้สูง ลมบ้าหมูหรือจากสาเหตุอื่น ห้ามใช้ไม้งัดฟันเพราะฟันอาจหักไปอุดตันหลอดลมได้ ถ้ามีไข้ให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดา จากนั้นรีบพาเด็กไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด อย่าพยายามให้ทานยาในขณะที่เด็กชัก
หากเด็กปวดท้องรุนแรง ให้งดอาหาร เครื่องดื่มและห้ามใช้ยา ถ้ามีไข้และอาเจียนด้วยอาจเป็นโรคไส้ติ่งอักเสบหรือโรคร้ายแรงอื่น
อาเจียน ถ่ายเป็นเลือดหรือถ่ายเป็นสีดำจำนวนมากอาจเป็นเพราะมีเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
หากเด็กอ่อนหรือเด็กเล็กเกิดท้องเสีย โดยถ่ายอุจจาระเพียง 3 - 4 ครั้ง ก็เสียน้ำไปมากถ้าเด็กมีอาการกระวนกระวาย ตัวร้อนผิวแห้ง ปัสสาวะน้อย อ่อนเพลียมาก แสดงว่าร่างกายขาดน้ำมาก
อาการชักเป็นอาการที่พบบ่อยในเด็กอายุ 6 เดือน - 6 ปี มักเกิดจากภาวะมีไข้สูงถ้าเด็กมีอาการชัก ต้องประเมินเรื่องไข้ ถ้ามีไข้พิจารณาเช็ดตัวจะช่วยให้ไข้ลดลง และหยุดชักได้เป็นส่วนมากถ้ายังไม่หยุดให้รีบนำส่งโรงพยาบาลพร้อมเช็ดตัวมาด้วยขณะเดินทาง
หากเด็กชักโดยไม่มีไข้ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที เบื้องต้นให้เด็กนอนคว่ำหรือนอนตะแคงเพื่อป้องกันการสำลัก ถ้าเด็กชักจนหยุดหายใจ ตัวเขียว ผู้ช่วยเหลือต้องช่วยผายปอด โดยไม่ใช้ไม้หรือของแข็งงัดฟัน เนื่องจากฟันอาจหักหลุดลงไปอุดหลอดลมได้ ห้ามกรอกยาทุกชนิดทางปากในคนไข้ที่มีไม่รู้สึกตัวหรือกำลังชัก
หากเด็กไม่สบายให้สังเกตอาการดูแลอย่างใกล้ชิด หรือเกิดอุบัติเหตุควรรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกวิธี และนำเด็กส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด