นพ. สุชาติ ตรีทิพย์ธิคุณ
จิตเวชศาสตร์
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
โรคแพนิค (Panic Disorder) คือภาวะความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมองและระบบประสาทอัตโนมัติให้ไวต่อสิ่งเร้ามากกว่าปกติ เมื่อป่วยจึงรู้สึกตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไร้เหตุผลหรือหาสาเหตุไม่ได้ ซึ่งโรคนี้ต่างจากอาการหวาดกลัวหรือกังวลทั่วไป เนื่องจากผู้ป่วยจะเกิดอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงตลอดเวลา แม้ไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย
โรคแพนิคมักเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อแสดงอาการย่อมรุนแรงกว่าภาวะเครียดทั่วไป โดยมักเกิดขึ้น 10-20 นาทีหรือยาวนานเป็นชั่วโมง โดยทั่วไปมักปรากฏในหลากอาการ ดังนี้
โรคแพนิครักษาได้ด้วยการตรวจเลือดหาสาเหตุที่เกิดทางด้านร่างกายร่วมรับประทานยาเพื่อปรับสมดุลของสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ หลังจากนั้นจึงให้ผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดทางจิตใจควบคู่ เพื่อปรับแนวคิด พฤติกรรม และสร้างความเข้าใจแก่บุคคลใกล้ชิดให้ผู้ป่วยได้ก้าวผ่าน
อ่านเพิ่มเติม: 4 วิธีคลายเครียดด้วยตัวเองแบบง่าย ช่วยรักษาสมดุลกายและจิต
การฝึกการหายใจเพื่อควบคุมสติ เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยลดความเครียดความวิตกกังวล ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยสามารถทำได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
จิตเวชศาสตร์