พญ. ศรีสุภา เลาห์ภากรณ์
มะเร็งวิทยานรีเวช สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ปวดประจำเดือน (Menstrual Pain/Dysmenorrhea) คืออาการปวดท้องน้อยช่วงที่มีรอบเดือน ซึ่งมักเกิดขึ้นก่อนรอบเดือนมาเพียงเล็กน้อย หรือเกิดขึ้นระหว่างที่มีรอบเดือน ส่วนใหญ่อาการดังกล่าวมักเกิดขึ้นเป็นเวลา 2-3 วัน ผู้ที่มีประจำเดือนมักรู้สึกปวดตุบ ๆ หรือปวดบีบกลางท้องน้อยล่างหรือบริเวณหัวหน่าว ซึ่งอาจปวดร้าวไปถึงหลังหรือต้นขา ระดับความรุนแรงของอาการอาจแตกต่างร่วมกับอาการอื่น เช่น คลื่นไส้ ถ่ายเหลว ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
สาเหตุของอาการปวดประจำเดือน
ปวดท้องประจำเดือน เกิดจากการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูกเพื่อให้ร่างกายขับเนื้อเยื่อภายในมดลูกออกมาเป็นประจำเดือน แต่บางครั้งอาจมีการบีบตัวของกล้ามเนื้อที่รุนแรงมากกว่าปกติจนอาจไปกดทับหลอดเลือดบริเวณใกล้เคียงจนทำให้ออกซิเจนไม่สามารถเข้าไปหล่อเลี้ยงได้จึงทำให้เกิดอาการปวดเกร็ง และในช่วงที่มีประจำเดือน ร่างกายจะมีการผลิตสารที่ชื่อว่า "โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin)" ที่เป็นสารที่กระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดการบีบตัวมากขึ้นด้วย เราเรียกอาการปวดชนิดนี้ว่า ปวดท้องน้อยปฐมภูมิ (Primary dysmenorrhea) ที่เกิดจากสารโพรสตาแกลนดิน
นอกจากนี้ อาการปวดประจำเดือนยังอาจเกิดขึ้นจากปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ ได้อีกด้วย เรียกว่า ปวดท้องน้อยแบบทุติยภูมิ (Secondary dysmenorrhea) ซึ่งพบในสตรีอายุมากกว่า 25 ปี เช่น
แพทย์จะเริ่มซักประวัติและตรวจร่างกาย ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจภายในได้จะพิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น การทำอัลตราซาวด์ช่องท้อง การตรวจหาการติดเชื้อและพิจารณาผ่าตัดส่องกล้องวินิจฉัยในบางราย
หากมีอาการปวดประจำเดือน ผู้ป่วยสามารถดูแลรักษาตัวเองได้โดย
แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์เพื่อตามหาสาเหตุและรับการรักษาเพิ่มเติมได้อย่างถูกต้อง
แก้ไข
18/08/2565
มะเร็งวิทยานรีเวช สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช