พญ. ศรีสุภา เลาห์ภากรณ์
มะเร็งวิทยานรีเวช สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
พญ. ศรีสุภา เลาห์ภากรณ์
สูติ - นรีเวช ผู้เชี่ยวชาญมะเร็งวิทยานรีเวช
และการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
เนื้องอกมดลูก (myomauteri, leiomyoma, leiomyomata, uterine fibroid) เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งพบบ่อยในสตรีที่อายุ 30-50 ปี ถึงร้อยละประมาณ 84 พบมากในสตรีผิวดำมากกว่าผิวขาวและชาวตะวันออก 2 ถึง 5 เท่า สตรีที่แต่งงานแล้วแต่ไม่มีบุตรมีแนวโน้มพบเนื้องอกมดลูกได้บ่อยขึ้น ซึ่งพบมากในวัยเจริญพันธุ์และจะเล็กลงหลังเข้าวัยหมดระดู ส่วนมากผู้ป่วยมักไม่มีอาการแต่ในบางรายอาจมีอาการ เช่น ระดูออกมาก ปวดท้องน้อย มีบุตรยาก อาการกดเบียดจากก้อน เช่น ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก ไตบวมน้ำ หรือลำไส้อุดตัน
การวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยการตรวจภายใน (pelvic examination) และใช้การตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงอัลตราซาวนด์ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) การตรวจด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) การฉีดสีโพรงมดลูก
การผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy) เหมาะสำหรับสตรีที่ไม่ต้องการมีบุตรแล้ว หรือสตรีที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งมดลูกหรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งสามารถเลือกการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (open laparotomy) ผ่าตัดผ่านกล้อง (laparoscopic surgery) หรือ ผ่าตัดผ่านทางช่องคลอด (NOTES) ตามขนาดเนื้องอกและความชำนาญของแพทย์
การผ่าตัดเฉพาะเนื้องอกมดลูก (Myomectomy) โดยเหลือส่วนที่เป็นมดลูกไว้เพื่อผลของการมีบุตรในอนาคต หรือในสตรีที่ต้องการเก็บมดลูกไว้ ซึ่งวิธีการผ่าตัดเฉพาะเนื้องอกสามารถทำได้ทั้งแบบเปิดหน้าท้อง (open myomectomy) และส่องกล้องทางหน้าท้อง (laparoscopic myomectomy)
อ่านเพิ่มเติม: ศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวชและมะเร็งทางนรีเวช
การผ่าตัดผ่านกล้องย่อมเป็นไปตามข้อบ่งชี้โดยพิจารณาจากขนาดตำแหน่งจำนวน ก้อนเนื้องอก รวมถึงประสบการณ์และความชำนาญของแพทย์ผู้ผ่าตัดด้วย
มะเร็งวิทยานรีเวช สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช