พญ. ปุณพร กมลมุนีโชติ
จิตเวชศาสตร์
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
“ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ” เป็นการเจ็บป่วยทางจิตใจของคนวัยสูงอายุ ซึ่งเกิดจากความรู้สึกผิดหวัง การสูญเสียจนเร่ิมนึกย้อนอดีตหรือสิ่งที่ขาดหายไปจากชีวิต บางครั้งอาจเป็นความยากลำบากในการยอมรับความเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่มีความสุข มีจิตใจที่เศร้าหมอง รู้สึกสิ้นหวังจนไม่อยากมีชีวิตอยู่อีกต่อไป บุคคลใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวจึงต้องคอยสังเกตภาวะนี้และเข้าใจถึงปัญหาที่เป็นอยู่เพื่อช่วยเขาก้าวผ่าน
เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่คุ้นชินกับการทำงานมาตลอด บางคนอาจเคยมีตำแหน่งหน้าที่การงานใหญ่โตและทำงานหนักมาทั้งชีวิต เมื่อถึงเวลาเกษียณ ชีวิตก็เปลี่ยนสถานะมาเป็นว่างงาน จึงไม่ชินที่จะต้องมาอยู่บ้านเฉยๆ และไม่ได้ทำในสิ่งที่เคยทำมาตลอด นานวันเข้าก็ทำให้รู้สึกว่าบทบาทความสำคัญของตัวเองลดลง แต่ก่อนเคยเป็นเสาหลักของครอบครัว ในวันนี้กลับรู้สึกเคว้งคว้างและไร้ค่า หากวันหนึ่งคนในครอบครัวไม่เอาใจใส่ก็อาจยิ่งแย่กว่าเดิม
พอเกษียณอายุแล้วก็ไม่ได้ออกไปทำงาน กลายเป็นต้องมาใช้ชีวิตอยู่บ้านคนเดียวทั้งวัน เพราะลูกหลานออกไปทำงานหรือไปเรียนหนังสือกันหมด แน่นอนว่าการอยู่บ้านในวันธรรมดาเป็นสิ่งที่ผู้สูงอายุไม่คุ้นเคย เพราะจะต้องพบกับความเงียบเหงา อ้างว้าง จนอาจทำให้นี้รู้สึกว่าตัวเองเป็นคนไม่มีคุณค่าหรือไม่มีประโยชน์ได้
เมื่ออายุมากขึ้น แน่นอนว่าร่างกายก็จะไม่เหมือนสมัยตอนที่ยังเป็นหนุ่มสาว ซึ่งความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายถือว่าเป็นสิ่งที่ชัดเจนที่สุดของคนวัยนี้ เช่น ความจำที่แย่ลง หูตึง สายตามองไม่ค่อยเห็น มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลงและพึ่งพาคนอื่นมากขึ้น จนกลายเป็นความรู้สึกที่ต้องโทษตัวเอง เครียด หงุดหงิด รวมถึงเกิดภาวะซึมเศร้าจากความเสื่อมของสมองและระดับฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุลเหมือนเดิม
ยิ่งผู้สูงอายุคนใดมีอายุยืน ก็ยิ่งได้เห็นคนรอบข้างจากไปทีละคนตั้งแต่ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงและคู่ชีวิต บางครั้งยังต้องรับมือกับการที่เห็นลูกหลานของตัวเองจากไปก่อนวัยอันควรอีกต่างหาก ส่งผลให้ต้องใช้ชีวิตอยู่เพียงลำพัง ทำให้ขาดที่พึ่งทางใจ
ถ้าลองทำตามนี้แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้พาผู้สูงอายุไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
แก้ไข
19/01/2566
จิตเวชศาสตร์
จิตเวชศาสตร์
จิตเวชศาสตร์
จิตเวชศาสตร์