สะอึก นานๆ บ่อยๆ ไม่ใช่แค่รำคาญ แต่อาจเกิดจากบางโรค

March 07 / 2025

สะอึก

 

 

     “สะอึก” เป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราว ใครๆ ก็เป็นได้ ปกติอาการสะอึกจะหายไปในไม่กี่นาที แต่ถ้าหากสะอึกอยู่นานๆ เป็นครึ่งค่อนชั่วโมงหรือเป็นวันๆ อาจจะต้องหาสาเหตุว่ามาจากโรคอะไรหรือเปล่า!.. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสะอึกในขณะนอนหลับ

 

 

สะอึก

 

 

การสะอึก

     การสะอึก (Hiccups) เกิดจากการที่กระเพาะอาหารระคายเคืองแล้วทำงานผิดปกติทำให้กะบังลมหดเกร็ง การหดตัวนี้เองส่งผลให้เราหายใจเข้าอย่างรวดเร็วแต่อากาศที่เข้ามาแบบแรงๆ นั้นถูกกักโดยเส้นเสียงทำให้มีเสียงสะอึกเป็นจังหวะ อึกๆๆ ออกมานั่นเอง

 

สาเหตุของการสะอึก

     การสะอึกอาจเกิดจากผลข้างเคียงจากความผิดปกติตรงบริเวณคอและหน้าอก เช่น มีเนื้องอก ต่อมน้ำเหลืองโต หรืออาจเกิดจากความผิดปกติในช่องท้อง ไม่ว่าจะเป็นเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ไตวาย หรืออาการที่เกิดขึ้นหลังเข้ารับการผ่าตัด รวมถึงอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลง เช่น มีอาการตกใจกะทันหัน หรืออาจมีปัญหาความเครียดเรื้อรัง นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีก เช่น อาจเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแก๊สมากไม่ว่าจะเป็น น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ ทานอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะอาหารรสจัด สูบบุหรี่จัด ซึ่งก็เป็นสาเหตุของอาการสะอึกได้เช่นกัน

 

 

 


แม้ว่าอาการสะอึกจะเกิดขึ้นไม่บ่อย เป็นไม่นาน และหายไปเองได้ แต่ระหว่างที่เป็นก็น่ารำคาญอยู่ไม่น้อย แถมยังทำให้เสียบุคลิกด้วย… 


 

 

วิธีแก้อาการสะอึกให้หยุดชะงัก

1.  การหายใจในถุงกระดาษ

     เราสามารถนำถุงกระดาษหรือถุงพลาสติกมาครอบปากและจมูกเอาไว้ หลังจากนั้นให้หายใจในถุงจนกว่าจะทนไม่ไหวหรือจนหายใจหอบสั้น ๆ ประมาณ 1-2 นาที

 

2.  การดื่มน้ำแก้สะอึก  

     เราสามารถดื่มน้ำติดต่อกันจำนวน 9 อึก หรือจะใช้วิธีการจิบน้ำที่เย็นจัด หรืออาจดื่มน้ำเย็นอย่างช้าๆ โดยการดื่มน้ำนั้นควรที่จะดื่มอย่างต่อเนื่องและให้กลืนติดต่อกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าอาการสะอึกจะหายไป

 

 

สะอึกสะอึก

 

3.  การทานของเปรี้ยว

     หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าของเปรี้ยว สามารถช่วยแก้อาการสะอึกได้ โดยเฉพาะ“มะนาว” โดยให้บีบน้ำมะนาวประมาณ 1 ช้อนชา จากนั้นจึงนำมาจิบแก้อาการสะอึก ด้วยความที่มีรสเปรี้ยวจึงเป็นตัวกระตุ้นให้ปุ่มรับรสเกิดการทำงาน ส่งผลให้หายจากอาการสะอึกได้เร็วขึ้นนั้นเอง

 

4.  การใช้นิ้วอุดหู

     แนะนำให้ลองใช้นิ้วอุดหูสักประมาณ 20-30 วินาที หรือใช้นิ้วอุดหูเอาไว้และดูดน้ำจากหลอดไปด้วยก็ได้เช่นกัน ซึ่งวิธีนี้ช่วยส่งสัญญาณผ่อนคลายไปที่เส้นประสาทซึ่งเชื่อมต่อกับก้านสมองส่วนเชื่อมต่อกับกะบังลม ทำให้อาการสะอึกนั้นหายไป

 

5.  สูดหายใจลึก ๆ

     วิธีนี้เบสิกมาก ๆ เลย โดยให้เริ่มสูดหายใจเข้าปอดลึกๆ พร้อมกับกลั้นลมหายใจเอาไว้สักพัก จากนั้นจึงหายใจออกอย่างช้าๆ เป็นเวลา 10 วินาที เมื่อทำทุกอย่างเสร็จแล้วก็ให้รีบดื่มน้ำตามทันที

 

 

สะอึกสะอึกสะอึก

 

 


อาการสะอึกไม่ได้เป็นโรคถ้าไม่สะอึกต่อเนื่องกันเป็นวันสองวันก็ไม่ต้องกังวล แต่ถ้าใครที่มีอาการสะอึกเรื้อรัง ทำตามวิธีที่บอกแล้วก็ไม่หายแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็คร่างกายอย่างละเอียดดีกว่า เพราะนี้อาจเป็นสัญญาณของโรคบางอย่างก็ได้นะครับ


 

 

แก้ไข

03/07/2566

สล็อต