ทพญ. ขวัญศิริ เปล่งสมบัติ
ทันตกรรมประดิษฐ์
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ปัจจุบันรากฟันเทียม (Dental implant) เป็นที่นิยมและถือเป็นการรักษาที่ดีที่สุดเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป ทั้งยังประยุกต์ใช้ร่วมกับฟันปลอมได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลังทำรากฟันเทียมจึงใช้งานได้สะดวกและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของเราให้ดูดีทุกครั้งที่เผยรอยยิ้ม
การออกแบบส่วนทันตกรรมประดิษฐ์นั้นแตกต่างไปตามจำนวนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป ปริมาณกระดูกรองรับฟันที่เหลืออยู่และความต้องการของคนไข้ หลังการวินิจฉัยด้วยการตรวจช่องปาก การตรวจด้วยเครื่อง CT Scan และการตรวจอื่นอย่างละเอียด ทันตแพทย์จะวางแผนการรักษาที่เหมาะสมตามแต่บุคคล
ชนิดทันตกรรมประดิษฐ์ที่ใช้ร่วมกับรากฟันเทียม
ทันตแพทย์สามารถฝังรากฟันเทียมบริเวณที่ต้องการ ใส่แกนฟันและครอบฟัน โดยไม่ต้องกรอแต่งฟันข้างเคียงเพื่อทำสะพานฟันเหมือนในอดีต ทำให้ทดแทนฟันที่สูญเสียไปได้ใกล้เคียงฟันธรรมชาติและทำความสะอาดฟันได้สะดวก
ภาพก่อนและหลังการรักษา
กรณีนี้ทันตแพทย์จะประเมินถึงจำนวนของรากฟันเทียมที่ต้องใช้รองรับสะพานฟัน แต่หากสะพานฟันที่มียังแข็งแรงเพียงพอสำหรับรองรับแรงบดเคี้ยวอาหาร เช่น ในกรณีเคสตัวอย่างที่มีการหายไปของฟันหลายซี่ แต่สามารถทำรากฟันเทียมและสะพานฟันกระจายไปอย่างเหมาะสมในขากรรไกร ก็ยังสามารถทำสะพานฟันเดิมต่อยอดให้ติดแน่นสวยงาม ดูเป็นธรรมชาติ และบดเคี้ยวอาหารได้ด้วยเหมือนกัน
ภาพหลังฝังรากเทียมและใส่แกนฟันเพื่อทำสะพานฟัน
ภาพภายหลังการใส่สะพานฟัน หลายชิ้นในแต่ละส่วนของช่องปาก
รอยยิ้มภายหลังการรักษา
กรณีที่ผู้ป่วยสูญเสียฟันไปหลายซี่ สูญเสียฟันทุกซี่ในขากรรไกร หรือมีกระดูกรองรับฟันในบางตำแหน่งไม่เพียงพอทำรากเทียม ทันตแพทย์จะใช้รากเทียม ตัวยึด และฟันปลอมถอดเป็นการรักษาทางเลือก เนื่องจากช่วยลดโอกาสฟันปลอมหลวมหรือขยับ ขณะบดเคี้ยวอาหาร ทำให้สามารถบดเคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น ละเอียดขึ้นและเพิ่มความมั่นใจให้คนไข้ขณะ พูด ยิ้ม หรือ หัวเราะ
ภาพตัวอย่างของตัวยึด (attachment) ที่มีส่วนแกนฟันที่ยึดติดกับรากฟันเทียม และส่วนฝาครอบและยางที่ยึดติดกับด้านในของฟันปลอม
เคสตัวอย่างนี้มีฟันหลังเหลือเพียง 2 ซี่ในขากรรไกรบน ทำให้ฟันปลอมถอดได้ชิ้นเดิมของผู้ป่วย ขยับมากเวลาพูดหรือเคี้ยวอาหาร หลังการรักษาด้วยการทำรากฟันเทียมจึงทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจขึ้น
ภาพภายหลังการฝังรากเทียมและใส่แกนฟันและตัวยึดในฟันปลอม (attachment)
เคสตัวอย่างถัดไป ผู้ป่วยสูญเสียฟันทุกซี่ในขากรรไกรล่าง แพทย์จึงฝังรากฟันเทียม แกนฟันและใส่ตัวยึดในฟันปลอม เพื่อเสริมการยึดติดไม่ให้ขยับเวลา พูดและบดเคี้ยว ซึ่งช่วยลดแผลกดทับที่เหงือกใต้ฟันปลอม
กรณีผู้ป่วยสูญเสียฟันไปทั้งหมดในขากรรไกรและสูญเสียกระดูกรองรับฟันไปมาก แต่ต้องการทำฟันปลอมทั้งปากชนิดติดแน่นแบบไม่ถอดออก ฟันปลอมลักษณะนี้ โดยทั่วไปแพทย์จะปักรากฟันเทียมในขากรรไกรล่าง-บนอย่างน้อย 4-6 ตัว เพื่อรองรับชิ้นฟันปลอมที่ยึดด้วยสกูรกับตัวแกนฟันและรากเทียม หลังการรักษาจึงทำให้ฟันปลอมชนิดนี้มีขนาดเล็กกว่าฟันปลอมชนิดถอดได้ ช่วยให้ผู้ป้วยเคี้ยวอาหารได้มีประสิทธิภาพ และมั่นใจทุกการอิริยาบถ
เคสตัวอย่างในคนไข้ที่สูญเสียฟันล่างไปทั้งหมดและทำการฝังรากเทียม และยึดติดฟันปลอมแบบไฮบริดในขากรรไกรล่าง
ภาพขาการไกรล่างที่ได้รับการฝังรากเทียมและใส่แกนฟันจำนวน 6 ตัว
ภาพชิ้นฟันปลอมไฮบริทบนโมเดล
ภาพฟันปลอมไฮบริทที่ได้ใส่ในขากรรไกรล่างภายหลังการรักษา
แม้รากฟันเทียมจะไม่สามารถเกิดฟันผุได้เหมือนฟันธรรมชาติ แต่ก็ยังสามารถเกิดโรคเหงือกอักเสบหรือกระดูกรองรับรากฟันเทียม (implant mucocitis /implantitis) ได้อยู่ ดังนั้นหลังการรักษาจึงจำเป็นต้องรักษาความสะอาดและดูแลเหมือนฟันธรรมชาติ
ทันตกรรมประดิษฐ์