เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ในยุคที่ร้านอาหาร และคาเฟ่ขนมต่าง ๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด คงเป็นเรื่องยากสำหรับใครหลาย ๆ คนโดยเฉพาะคนที่ติดนิสัยกินจุบจิบ ไม่ให้ตามใจปาก เพราะการกินตามใจปาก หรือการกินตามอารมณ์นั้น นอกจากจะเป็นอุปสรรคต่อการคุมอาหารแล้ว ยังส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ในปัจจุบัน มีกูรูมากมายออกมาแนะแนวทางการเลิกกินจุบจิบ ไม่ว่าจะเป็นการลองเคี้ยวอาหารช้า ๆ หรือการรับประทานให้เป็นเวลา แต่อาจลืมไปว่า อีกหนึ่งวิธีในการดูแลรักษาสุขภาพง่าย ๆ สามารถทำได้ด้วยการเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนอกจากจะเป็นแนวทางให้เราทราบถึงปัญหาสุขภาพเบื้องต้นแล้ว ยังถือเป็นการช่วยวางแผน ปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันของเรามีเกิดความสมดุลมากยิ่งขึ้นด้วย
6 โรคร้ายที่มาจากพฤติกรรมการกิน มีดังนี้
โรคอ้วนลงพุงพบมากในผู้ที่ชอบตามใจปาก ทานแต่ของที่ตัวเองชอบ โดยเฉพาะของมัน ของทอด เบเกอรี่ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง โดยไม่คำนึงถึงแคลอรี่หรือสารอาหารที่ได้รับ ทำให้บ่อยครั้งรับประทานในปริมาณมากจนเกินความต้องการของร่างกาย เมื่อตรวจสุขภาพจะส่งผลให้เห็นว่ามีไขมันสะสม สูญเสียความมั่นใจ และเพิ่มโอกาสในการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ
โรคเบาหวานนับเป็นความเสี่ยงที่เกิดจากพฤติกรรมการกินอันดับต้น ๆ ของคนไทย เพราะโรคนี้มักสัมพันธ์กับผู้ที่ชอบทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด รวมถึงอาหารแปรรูปที่มีไขมันสูง นอกจากนี้ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มชูกำลังอย่างสม่ำเสมอ ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน เนื่องจากสามารถทำให้ร่างกายไม่สามารถผลิตหรือใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โรคความดันโลหิตสูงเป็นอีกโรคที่พบได้ในผู้ที่ชื่นชอบอาหารรสเค็ม รวมถึงอาหารฟาสต์ฟู้ด อาทิ พิซซ่า ไก่ทอด หรือมันฝรั่งทอด ซึ่งการบริโภคอาหารประเภทนี้อย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมเกินความจำเป็น ซึ่งมากกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยโรคนี้มักไม่ค่อยมีอาการแสดงออก คนส่วนใหญ่หากไม่ตรวจสุขภาพก็อาจไม่ทราบว่าตนกำลังเป็นอยู่
โรคหัวใจและหลอดเลือด จากการตรวจสุขภาพ มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล ไขมัน และเกลือในปริมาณสูง นอกจากนี้ ยังเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเป็นประจำ
โรคไตเกิดจากการรับประทานอาหารรสจัด ไม่ได้จำกัดเพียงอาหารรสเค็มจัดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอาหารรสหวานจัด หรือเผ็ดจัดด้วย นอกจากนี้ การมีโรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด เมื่อถึงคราวตรวจสุขภาพอีกครั้ง ก็สามารถส่งผลกระทบทำให้เกิดโรคไตได้เช่นกัน
สารก่อมะเร็งมีหลากหลายประเภท ซึ่งหนึ่งในนั้นเกิดจากควันที่มาจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นผู้ที่ชื่นชอบการรับประทานอาหารปิ้งย่าง หรืออาหารรมควันเป็นประจำ จึงมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นมะเร็งสูง เนื่องจากน้ำมันที่หยดลงเตาย่าง มักทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้ยังรวมถึงผู้ที่ชอบทานอาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป ของหมักดอก ของทอดที่ใช้น้ำมันทอดซ้ำในการประกอบอาหาร และอาหารที่ไหม้เกรียม
รู้ทันโรคร้าย ป้องกันได้ ก่อนสายเกินแก้ นอกจากการตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งมักประกอบด้วย การตรวจร่างกายและซักประวัติโดยแพทย์ การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) การตรวจปัสสาวะ การตรวจระดับการมองเห็น รวมถึงการอัลตราซาวด์ช่องท้องและการ x-ray ปอดด้วยฟิล์มแล้วนั้น เรายังควรทำความรู้จักและเข้าใจถึงค่าต่าง ๆ ที่สำคัญในการตรวจร่างกาย เพื่อสามารถทราบและประเมินสุขภาพของเราโดยรวมได้อย่างดียิ่งขึ้น
การตรวจสุขภาพ ตรวจระดับน้ำตาล FBS หรือ HbA1C แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
การตรวจระดับไขมัน HDL และ LDL คือ การตรวจสุขภาพหาระดับไขมันอิ่มตัวในเลือด หรือคอเลสเตอรอลในร่างกาย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
Low-density Lipoprotein (LDL) หรือที่เรียกว่า ‘ไขมันเลว’ จัดเป็นไขมันที่ชอบสะสมตามผนังหลอดเลือด เมื่อมีไขมันชนิดนี้มากเกินไปจะทำให้เกิดการอุดตันในเส้นเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดแดงตีบและแข็ง เกิดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
High-density Lipoprotein (HDL) หรือที่เรียกว่า ‘ไขมันดี’ ทำหน้าที่ลำเลียงคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์จากหลอดเลือดแดงและเนื้อเยื่อไปยังตับเพื่อขับออก ส่งผลให้ระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายโดยรวมลดลง และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
ดังนั้น หากร่างกายมีปริมาณไขมัน HDL สูง ก็สามารถเป็นตัวชี้วัดผลดีต่อสุขภาพ แต่ในขณะเดียวกัน หากร่างกายมีปริมาณไขมัน LDL สูง ก็แสดงว่าร่างกายเริ่มมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น
การตรวจระดับการทำงานของไตเพื่อวัดค่า BUN, Creatinine และ eGFR แต่ละชนิดมีรายละเอียดเพื่อรู้ผลการตรวจสุขภาพดังนี้
ค่า BUN เป็นการวัดหาปริมาณไนโตรเจนในสารยูเรียตามกระแสเลือด โดยปกติ ผู้ใหญ่จะมีค่าอยู่ที่ 10 - 20 mg/dL และ เด็กจะมีค่าอยู่ที่ 10 - 20 mg/dL ซึ่งหากค่า BUN สูงผิดปกติ อาจมีโอกาสเป็นไปได้ว่าการทำงานภายในของระบบไตเกิดความผิดปกติ
ค่า Creatinine เป็นการเจาะเลือดเพื่อประเมินคุณภาพของเสียจากการเผาผลาญใช้งานของกล้ามเนื้อภายในร่างกาย โดยปกติ ค่า Creatine ของผู้ชายจะอยู่ที่ 0.6-1.2 mg/dL ส่วนของผู้หญิงจะอยู่ที่ 0.5-1.1 mg/dL
ค่า eGFR เป็นการตรวจวัดอัตราการคัดกรองของกระแสเลือดในไตต่อนาที เพื่อประเมินประสิทธิภาพการกรองของเสียในไตว่ามีปัญหาหรือไม่
ค่า SGOT (หรือค่า AST: Aspartate Aminotransferase) และค่า SGPT (หรือค่า ALT: Alanine Aminotransferase) เป็นการตรวจจากเอนไซม์ซึ่งมีจำนวนมากในเซลล์ตับ โดยค่าทั้งสองหลังผลตรวจสุขภาพออก ไม่ควรสูงเกิน 40 IU/L เพราะหากสูงเกินกว่านี้ อาจเป็นตัวบ่งชี้ถึงภาวะไขมันพอกตับ หรือตับอักเสบได้
แพ็กเกจตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลรามคำแหง มีให้เลือกหลายแพ็กเกจ คุณสามารถเลือกได้ตามโปรแกรมด้านล่าง ดังนี้