ธนรร งามวิชชุกร
อายุรกรรมโรคไต
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
การเลี่ยงทานเค็มเท่ากับเลี่ยงโรคไตไม่ได้เป็นสาเหตุเดียวที่ก่อเกิดโรคไต หมอเฉพาะทางโรคไตยังระบุไว้ว่ายังมีสาเหตุต่าง ๆ อีกมากมายที่ทำให้เกิดโรคไตได้ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านพันธุกรรม ด้านพฤติกรรม และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้ไตค่อย ๆ ทำงานลดลงจนกรองของเสียหรือสารพิษไม่ได้ตามปกติ ดังนั้นการเรียนรู้วิธีการดูแลไตและลดความเสี่ยงเกิดโรคไตจึงสำคัญ
สาเหตุของการเกิดโรคไต ไม่ใช่แค่มาจากการทานอาหารที่มีโซเดียมสูงอย่างที่เราทราบกันเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่มีส่วนกระตุ้นให้ไตทำงานผิดปกติ ซึ่งหมอเฉพาะทางโรคไต ได้รวบรวมไว้ให้แล้วได้แก่
กลุ่มเสี่ยงโรคไต มีทั้งหมด 5 กลุ่ม ซึ่งหมอเฉพาะทางโรคไต ได้แบ่งและจัดประเภทกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดไว้แล้ว ดังนี้
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) โรคเก๊าท์ ซึ่งล้วนแต่ทำให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคไตเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้น
ผู้ที่รับประทานอาหารรสจัด การทานอาหารรสจัดนั้น ไม่ได้จำกัดแค่อาหารรสเค็มจัด แต่ยังรวมถึงอาหารหวานจัด หรือเผ็ดจัด และการทานอาหารแปรรูป เช่น แฮม เบคอน ขนมกรุบกรอบ ผลไม้กระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารหมักดอง สารเสริมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ
แม้การดื่มน้ำไม่เพียงพออาจไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคไต แต่หมอเฉพาะทางโรคไตกล่าวไว้ว่าการดื่มน้ำน้อยมักส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคไตได้
การกลุ่มยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) เพื่อใช้คลายอาการปวดเป็นเวลานานส่งผลให้การไหลเวียนเลือดในไตลดลงและก่อให้เกิดโรคไต เนื่องจากยากลุ่มดังกล่าวสามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของสารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ซึ่งมีหน้าที่ช่วยควบคุมการไหลเวียนของเลือดในไตและหน้าที่สำคัญอื่นหลายประการ
นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่ใช้ยากลุ่ม NSAIDs เป็นประจำ ควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจบ่งชี้ถึงโรคไต เช่น
โดยหากพบอาการผิดปกติเหล่านี้ ควรรีบพบหมอเฉพาะทางโรคไตเพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาโดยเร็ว
ผู้ที่รับประทานอาหารเสริมเกินขนาด เนื่องจากไตมีหน้าที่กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย การทานอาหารเสริมในปริมาณมากเกินความจำเป็นย่อมส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้นและยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะไตอักเสบ ไตวายหรือภาวะนิ่วในไต ดังนั้น เราควรทานในปริมาณที่พอเหมาะและปรึกษาหมอเฉพาะทางโรคไตก่อนเริ่มทานอาหารเสริมทุกครั้ง โดยเฉพาะอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบเหล่านี้ ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินซีและแร่ธาตุบางชนิด เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม
เนื่องจาก ‘โรคไต’ ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ทั้งในไทยและทั่วโลก อีกทั้งยังไม่มียาชนิดใดสามารถรักษาโรคไตเรื้อรังให้หายขาดได้ ดังนั้นการดูแลสุขภาพไตให้แข็งแรงนับเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม โดยสามารถเริ่มต้นจากการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอเฉพาะทางโรคไต ดังนี้
ผู้ป่วยโรคไตระยะแรกมักไม่แสดงอาการผิดปกติ จึงทำให้สูญเสียโอกาสสำคัญในการเข้ารับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม ดังนั้นการดูแลให้ไตให้ทำงานอย่างสมบูรณ์ด้วยการตรวจสุขภาพประจำปีกับหมอเฉพาะทางโรคไตก็ทำให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที
อายุรกรรมโรคไต
อายุรกรรมโรคไต
อายุรศาสตร์โรคไต