พญ. อรุณี ตั้งศิริชัยพงษ์
จักษุแพทย์ สาขาจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
นวัตกรรมการตรวจจอประสาทตา (Optical Coherence Tomography)
การตรวจวิเคราะห์ชั้นจอประสาทตาด้วยเลเซอร์
โรคจอประสาทตาเสื่อม (AMD: Age-related Macular Degeneration) เป็นความผิดปกติเกิดขึ้นในจอประสาทตาเนื่องจากวัยที่ร่วงโรย ซึ่งพบมากที่สุดในกลุ่มผู้สูงวัย โดยจากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก (WHO) เมื่อปี พ.ศ. 2552 พบว่าโรคจอประสาทตาเสื่อมยังเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้คนสูญเสียการมองเห็นรองจากโรคต้อกระจก โรคสายตาผิดปกติและโรคต้อหิน
โรคจอประสาทตาเสื่อมอาจแสดงอาการแตกต่างตามแต่สภาพของผู้ป่วย และยังยากต่อผู้ป่วยที่จะสังเกตความผิดปกติในการมองเห็นเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรก โดยเฉพาะถ้าตาอีกข้างหนึ่งยังมองเห็นได้ดี ผู้ป่วยอาจไม่สังเกตถึงความผิดปกติไปหลายปี
ส่วนใหญ่แล้ว พบในผู้สูงอายุเชื่อว่าเป็นขบวนการเสื่อมสภาพของร่างกายและพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างที่มีอิทธิพลต่อการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมตามอายุ ได้แก่
แม้ตายังมองเห็นเป็นปรกติก็ควรได้รับการตรวจสุขภาพตา (รวมทั้งตรวจจอประสาทตา) ทุก 2-4 ปี สำหรับคนที่มีอายุ ตั้งแต่ 50 ปีขั้นไป แนะนำให้ตรวจทุก 1-2 ปี เนื่องจากหากผู้ป่วยส่วนมากจะไม่รู้สึกถึงความผิดปกติจากโรคจอประสาทตาเสื่อมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ดังนั้นหากตรวจพบแต่แรกและเข้ารับการรักษาโรคตั้งแต่เริ่มเป็นจึงเป็นสิ่งจำเป็น หากปล่อยไว้นานจอประสาทตาที่เสื่อมจะเริ่มเสียมากขึ้นเรื่อย ๆ
การรักษาในปัจจุบันจึงทำได้เพียงหยุดหรือชะลอการเสื่อมเสียของจอประสาทตาให้ช้าที่สุด ซึ่งอาจรักษาไม่ได้เลยหากโรคเป็นรุนแรง
จักษุแพทย์ด้านโรคจอประสาทตา ( Retina specialist ) จะมีวิธีตรวจหาความผิดปกติของโรคด้วยการใช้
การตรวจจอประสาทตาด้วยเครื่อง OCT (Optical Coherence Tomography) เป็นเครื่องมือตรวจวินิจฉัยพยาธิสภาพในขั้นต่างๆ ของจอประสาทตาโดยสามารถดูได้ละเอียดถึงประมาณ 0.01 มิลลิเมตร การตรวจทำได้ง่ายและรวดเร็วโดยไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ไม่ต้องฉีดยาและไม่ต้องสัมผัสรังสี
คนทั่วไปที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ควรได้รับการตรวจจอประสาทตาจากจักษุแพทย์ เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
จักษุแพทย์ สาขาจอประสาทตาและน้ำวุ้นตา