รวมเรื่องประเด็นอื่นที่ผู้ป่วยต้องรู้ก่อนเข้ารับการผ่าตัดไซนัส

February 11 / 2025

เตรียมตัวก่อนผ่าตัดไซนัส     

 

 

     ปัจจุบันการผ่าตัดไซนัสแบบส่องกล้องได้กลายเป็นการรักษาหนึ่งที่ทั้งสะดวก รวดเร็วและลดผลข้างเคียงกว่าวิธีแบบเดิม อย่างไรก็ตาม การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดยังเป็นขั้นตอนสำคัญที่ผู้ป่วยไม่ควรมองข้าม เพื่อให้การผ่าตัดดำเนินไปได้อย่างราบรื่น

 

การเตรียมตัวก่อนผ่าไซนัส

  • งดน้ำและอาหารก่อนเข้ารับการผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่มีผลให้เยื่อบุโพรงจมูกเกิดการระคายเพิ่มขึ้น
  • ไม่ทำกิจกรรมว่ายน้ำระหว่างที่เป็นไซนัสอักเสบ
  • ควรนำยาที่รับประทานมาทั้งหมดพร้อมแจ้งให้แพทย์ทราบ โดยผู้ป่วยควรหยุดรับประทานยาบางชนิดชั่วคราวเนื่องลดโอกาสเสี่ยงเลือดออก
  • เข้ารับการตรวจร่างกายก่อนผ่าตัดจากแพทย์เฉพาะทางด้านหู คอ จมูก เช่น การตรวจด้วย CT Paranasal Sinuses ซึ่งเป็นการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โพรงจมูกและไซนัส เพื่อให้เห็นรายละเอียดทั้งหมดก่อนการผ่าตัด บางรายที่เกี่ยวข้องกับสมอง แพทย์อาจให้ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสมอง (MRI Brain) ร่วมด้วย

 

 

เตรียมตัวก่อนผ่าตัดไซนัส

 

 

ขั้นตอนการผ่าไซนัสด้วยกล้องเอนโดสโคป

1. การวางยาสลบหรือให้ยาชาเฉพาะที่

     แพทย์จะปรึกษากับผู้ป่วยถึงการผ่าตัดและการใช้ยาสลบ ซึ่งจะเป็นวิธีแบบดมหรือฉีดยาชาเฉพาะที่ล้วนขึ้นอยู่ทั้งดุลยพินิจของแพทย์และความสมัครใจของผู้ป่วย หลังจากนั้นแพทย์จึงเริ่มเตรียมสิ่งจำเป็นเพื่อเตรียมการผ่าตัด

 

2.  การใช้อุปกรณ์ในการผ่าตัด

     กรณีที่ใช้การผ่าตัดด้วยกล้องเอ็นโดสโคป (ESS หรือ Full House FESS) แพทย์จะเริ่มสอดอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าทางรูจมูกเพื่อขยายรูเปิดโพรงไซนัสให้กว้างเพื่อระบายมูกเหนียวและหนองออกไซนัสได้ง่าย โดยแพทย์จะพิจารณาเปิดบางส่วนหรือทั้งหมดตามแต่ปัจจัยต่าง ๆ

 

3.  การใส่วัสดุห้ามเลือดไว้ในโพรงจมูก

     แพทย์จะใช้วัสดุห้ามเลือดไว้ในโพรงไซนัส โดยวัสดุดังกล่าวได้รับการออกแบบให้ผู้ป่วยยังสามารถหายใจทางจมูกได้สะดวก บางรายแพทย์อาจให้นอนพัก 6 - 8 ชั่วโมง หรือที่นิยมมากที่สุดคือ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัด จากนั้นแพทย์จะเป็นคนประเมินว่าสามารถกลับบ้านได้หรือไม่

 

วิธีการดูแลตัวเองหลังการผ่าตัด

  • หลีกเลี่ยงการไอ สั่งน้ำมูกแรง การแคะเกาหรือสิ่งใดที่ส่งผลกระทบบริเวณจมูก
  • ไม่ควรล้างจมูก โดยผู้ป่วยจะได้รับยาพ่นสำหรับทำความสะอาดแผลในโพรงจมูกไซนัสจากโรงพยาบาลหลังการผ่าตัด
  • หมั่นจิบน้ำเป็นประจำ โดยเฉพาะน้ำในอุณหภูมิห้อง
  • นอนศีรษะสูง เพื่อช่วยให้หายใจสะดวกขึ้นหลังได้รับการผ่าตัดอย่างน้อย 24 - 48 ชั่วโมง
  • ห้ามเบ่งแรง เพราะอาจทำให้ความดันสูงและมีเลือดซึมได้ หากมีอาการท้องผูกควรแจ้งแพทย์
  • งดการทานอาหารร้อน มีไอร้อนหรือมีรสจัด
  • พบแพทย์ตามนัดเสมอ เพื่อให้แพทย์ติดตามอาการและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด 


อ่านเพิ่มเติม : เช็กให้กระจ่าง อาการแบบไหนที่ควรต้องเข้ารับการผ่าตัดไซนัส

 

 

 

 

สล็อต