นพ. พีรธัช โชคมั่งมีพิศาล
กุมารเวชศาสตร์ ระบบประสาทวิทยา
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
แม้บุหรี่ไฟฟ้ามีรูปลักษณ์เรียบสวยและใช้งานง่าย หลายคนมักเข้าใจผิดว่าสามารถใช้เลิกบุหรี่ได้ทว่าที่จริงแล้วกลับแฝงด้วยอันตรายถึงชีวิตเช่นเดียวกับยาเสพชนิดอื่นที่เคยระบาด จากข่าวการเสียชีวิตของนักเรียนจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าและสถิติจากหลายสถาบันเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องราว 18.6% หมอจึงอยากนำเสนอภัยของสิ่งเสพติดชนิดนี้ให้ผู้ปกครองและบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดได้ดูแลบุตรหลานให้ห่างไกลโรคที่แฝงมากับบุหรี่
ปัจจุบันบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีรูปลักษณ์ที่เรียบหรูน่าจับต้อง แต่ยังเลียนแบบรูปลักษณ์ให้มีลักษณะคล้ายของเล่นที่หลายคนต่างเรียกว่า ‘Art Toy’ เมื่อผู้สูบเป็นเด็กซึ่งช่วงกำลังเจริญเติบโต เมื่อสูบเข้าไปยาวนานย่อมส่งผลถึงประสิทธิภาพของสติปัญญา อารมณ์และระบบร่างกายโดยรวม
‘ไอ หายใจไม่อิ่ม มีไข้หนาวสั่น และปวดเนื้อตัว’ คือพิษของบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งจะแสดงอาการช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับบุคคล บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรืออาการเกี่ยวกับทางเดินอาหารอื่นร่วมด้วย
เนื่องจากภายในบุหรี่ไฟฟ้ามีส่วนประกอบของสารหลากชนิด เช่น โพรพาลีนไกลคอล กลีเซอรีน สารโลหะหนัก ซึ่งก่อระคายเคืองได้เมื่อสูดดมและเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคแทรกซ้อนอื่นเพิ่ม เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหอบหืด ภาวะปอดอักเสบ นอกจากนี้บุหรี่ไฟฟ้ายังมีสารให้รสชาติซึ่งเพิ่มโอกาสเกิดภาวะหลอดลมตีบถาวร แม้จะหยุดสูบในภายหลัง
เมื่อสารดังกล่าวเข้าสู่กระบวนทำความร้อนในบุหรี่ไฟฟ้าในระดับที่เกินกว่าปรกติ สารดังกล่าวก็สามารถกลายสภาพเป็นสารก่อมะเร็งหลากชนิด เช่น ฟอลมาลริไฮด์ อนุมูลอิสระ ซึ่งมีส่วนทำลายเซลล์และกระบวนการซ่อมแซมเซลล์ผิดปรกติ
เนื่องจากภายในบุหรี่ไฟฟ้าประกอบด้วยสารนิโคติน (Nichotine) ซึ่งออกฤทธิ์กระตุ้นสมองส่วนนอกที่เกี่ยวข้องกับความคิดและอารมณ์ ทำให้ร่างกายเกิดหลั่งสารสื่อประสาทแห่งความสุขอย่าง ‘โดปามีน’ และอื่น ๆ ผู้สูบบุหรี่อาจไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้หากไม่ได้สูบตามที่ต้องการ เพราะระดับโดปามีนไม่เท่าเดิม ดังนั้นนิโคจึงเป็นจัดเป็นหนึ่งใน ‘สารเสพติด’ ที่ออกฤทธิ์แรงได้ใกล้เคียงกับสารเสพติดตัวอื่นอย่างแอมเฟตามีน
นอกจากจะกระตุ้นความอยากอย่างรุนแรง บุหรี่ไฟฟ้ายังสารนิโคตินมากกว่าบุหรี่มวลปรกติ ทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้นและกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งอะดินาลีน (Adrenalin) ซึ่งกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นและเพิ่มโอกาสเกิดภาวะหัวใจวาย
อาการดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากต่อจากภาวะเสพติดจากนิโคติน โดยนิโคตินจะเข้าไปยับยั้งไม่ให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความหิว
ดังนั้นบุหรี่ไฟฟ้าจึงอันตรายกว่าบุหรี่มวนมาก
บุหรี่ไฟฟ้าไม่เพียงทำให้หลอดเลือดเปราะจนเกิดโรค แต่ยังส่งกระทบรุนแรงถึงสมองด้านสติปัญญาและการควบคุมอารมณ์ หากสิ่งเหล่านี้เกิดกับตัวเด็กซึ่งร่างกายยังเติบโตได้ไม่เต็มที่ โครงสร้างสมองของเด็กอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบถาวร
กุมารเวชศาสตร์ ระบบประสาทวิทยา