พญ. รติกร พฤกษ์มหาชัยกุล
กุมารเวชศาสตร์
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
สีอุจจาระทารกเปลี่ยนแปลงตามอาหาร ระบบย่อย และสุขภาพ พ่อแม่อาจสังเกตเห็นว่าวันหนึ่งเป็นสีเหลืองทอง แต่วันถัดมาอาจเป็นสีเขียวหรือคล้ำขึ้น ซึ่งบางครั้งปกติ แต่บางครั้งอาจบ่งบอกถึงโรคหรือการติดเชื้อ แล้วสีไหนควรกังวล? มาหาคำตอบกัน เพราะยิ่งรู้เร็ว ยิ่งพาลูกพบแพทย์ได้ทัน
ปกติสีอุจจาระทารกเปลี่ยนไปตามอาหารที่ได้รับ เช่น หากลูกทานนมมาก อุจจาระจะเป็นสีเหลือง นุ่ม เละ แต่ถ้าทานผักหรือผลไม้บด อาจเป็นสีเขียวหรือน้ำตาล และจับตัวเป็นก้อน โดยสีที่ผิดปกติสามารถแบ่งออกเป็น 3 สี ดังนี้
อุจจาระสีดำหรือเรียกอีกอย่างว่า “ขี้เทา” มีลักษณะเหนียวข้น หากเกิดขึ้นหลังทารกคลอดใหม่ในช่วง 3 วันแรก เป็นสีปกติไม่อันตราย เพราะเป็นสีที่ผสมกันระหว่างเซลล์ผิวหนัง เมือก และน้ำคร่ำ ที่ทารกย่อยระหว่างอยู่ในครรภ์มารดา แต่หากหลังจากนั้น เด็กยังขับถ่ายเป็นสีดำ โดยเฉพาะหากมีอาการร่วมเช่น อาเจียนมีเลือดปน ซึม อ่อนเพลีย ท้องอืด ปวดท้อง เบื่ออาหาร หรือทานได้น้อยลง ผิวซีด อาจเป็นสัญญาณเตือนของเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
อุจจาระสีขาว เป็นสัญญาณเตือนจากระบบตับและถุงน้ำดีที่ผิดปกติ เพราะ 2 อวัยวะนี้ มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการขับเอาสารเคมีสีเหลืองในร่างกายออกมาปนกับอุจจาระด้วย ซึ่งกากอาหารหรืออุจจาระเมื่อเกิดการคลุกเคล้ากับสารตัวนี้ก็จะกลายเป็นสีเหลือง ถือเป็นสีอุจจาระปกติ ดังนั้นถ้าอุจจาระสีขาวแสดงว่าอาจมีความผิดปกติที่ระบบตับและถุงน้ำดี
อุจจาระสีแดง อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อในลำไส้ แผลในทวารหนัก หรือโรคอื่น ๆ ในลำไส้ใหญ่ ถ้าทารกมีอาการขับถ่ายเป็นสีแดงหรือมีเลือดปนในอุจจาระ ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันทีเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม
ทารกอาจท้องผูกได้หากอุจจาระแข็ง เป็นก้อนเล็กๆ คล้ายลูกกระสุน ในทารกมักพบได้หากเลี้ยงนมผสม, ชงนมไม่ถูกสัดส่วน หรือให้นมที่ไม่เหมาะสมกับวัย เช่น น้ำนมผงสำหรับเด็กโตมาให้ทารก
หากทารกมีการขับถ่ายเหลวหรือท้องเสีย อาจเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้อ หากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษา สามารถทำให้ร่างกายขาดน้ำได้
อุจจาระทารกในช่วงเดือนแรกที่เลี้ยงด้วยนมแม่อาจมีลักษณะเละ และมีมูกปนเล็กน้อยได้ แต่ถ้าหากมีมูกปนออกมาพร้อมกับเลือด จะต้องระวังการติดเชื้อทางเดินอาหารและการแพ้โปรตีนนมวัว รวมไปถึงหากมีลักษณะอุจจาระผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรพามาพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา
กุมารเวชศาสตร์