นพ. พีรธัช โชคมั่งมีพิศาล
กุมารเวชศาสตร์ ระบบประสาทวิทยา
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
จากกระแสการพูดคุยในสื่อสาธารณะเกี่ยวกับประเด็น “การเขย่าเด็กทารก” ที่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา หลายท่านอาจสงสัยว่า การกระทำดังกล่าวจะสามารถส่งผลกระทบต่อสมองของเด็กได้จริงหรือไม่ คำตอบจากวงการแพทย์คือ “ได้จริง” และไม่ใช่เพียงผลกระทบเล็กน้อย หากแต่เป็นอันตรายต่อชีวิตของเด็ก
กลุ่มอาการเด็กถูกเขย่าหรือภาวะนี้มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Shaken Baby Syndrome (SBS) เกิดจากการที่เด็กทารกถูกเขย่าอย่างรุนแรงจนส่งผลให้สมองของเด็กเกิดการกระแทกกับกะโหลกศีรษะ ภาวะนี้พบได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี เนื่องจากเด็กในช่วงวัยนี้มีลักษณะทางกายวิภาคที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ ได้แก่ ศีรษะที่มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว เนื้อสมองยังไม่เต็มกะโหลก และหลอดเลือดในสมองยังเปราะบาง เหตุผลเหล่านี้ทำให้เด็กยังไม่สามารถทนต่อแรงสั่นสะเทือนหรือกระแทกได้ดีนัก
หากเขย่าเด็กอย่างรุนแรง หลอดเลือดในสมองของเด็กอาจฉีกขาด เลือดออกและเกิดการระคายเคืองในเนื้อสมอง ซึ่งอาจแสดงออกในรูปแบบของอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น ซึม ไม่เล่น อาเจียน ชัก กระหม่อมตึง หรือมีพฤติกรรมที่ไม่ปกติ หากไม่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที เด็กอาจพิการถาวรหรือแม้กระทั่งเสียชีวิต
ข้อมูลจาก American Academy of Pediatrics (AAP) ระบุว่า ผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจาก Shaken Baby Syndrome ถึงร้อยละ 25 เสียชีวิต และอีกร้อยละ 75 มีโอกาสเกิดความผิดปกติทางพัฒนาการ เช่น ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ การมองเห็น การได้ยิน และการเรียนรู้ ซึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการโดยรวมของเด็กล่าช้ากว่าเกณฑ์
แพทย์ตอบว่า ไม่มีเกณฑ์ที่ชัดเจน เพราะผลกระทบขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งความรุนแรงของการเขย่า และความเปราะบางของเด็กแต่ละคน บางกรณีเพียงแค่เขย่าเพียงครั้งเดียวก็อาจเกิดอันตรายร้ายแรงได้
การร้องไห้ของเด็กทารกเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น หิว ร้อน หนาว หรือปวดท้อง หากรู้สึกเครียด ควรตั้งสติและหาผู้ช่วยดูแลเด็กชั่วคราว เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจเกิดจากอารมณ์ชั่ววูบ
นอกจากนี้การเล่นกับเด็กโดยการโยนตัวขึ้นสูง แม้จะดูสนุก แต่ก็แฝงด้วยความเสี่ยง เนื่องจากสมองของเด็กยังไม่สามารถรองรับแรงกระแทกซ้ำ ๆ ได้ เราควรเปลี่ยนมาเล่นในรูปแบบที่ปลอดภัย เช่น เล่นจ๊ะเอ๋ ใช้ของเล่นที่มีเสียง หรือสัมผัสเบา ๆ แทน
กุมารเวชศาสตร์ ระบบประสาทวิทยา