รู้ทันกันได้! ดูแลตัวเองอย่างไรหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

April 25 / 2025

ดูแลตัวเองหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

 

 

 

 

 

     โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อซึ่งลึกถึงชั้นโครงสร้างในข้อเข่า เมื่อผิวข้อของกระดูกอ่อนสึกหรอจะส่งผลให้ข้อฝืด เมื่อขยับจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูก หากปล่อยไว้นานจนเริ่มเสื่อมรุนแรง ผู้ป่วยจะเกิดอาการปวด เสียงดังกรอบในข้อเข่า เดินลำบาก ขึ้น-ลงบันไดไม่ได้ เหยียดหรืองอเข่าได้ไม่สุด จนในที่สุดขาลีบและเข่าโก่งจนผิดรูป

 

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

     การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นการรักษาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดจากข้อเข่าเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและดีที่สุดในปัจจุบัน โดยแพทย์จะตัดกระดูกส่วนที่เสื่อมออกแล้วใส่ข้อเทียมทดแทนข้อเดิม เพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นธรรมชาติ

 

ดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อต้องพักรักษาตัว

     แม้จะได้รับการดูแลและการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูหลังการผ่าตัด แต่ก็เกิดภาวะไม่คาดฝันขึ้น เช่น เหยียดงอเข่าได้ไม่สุด ไม่มีแรงเดิน ข้อเทียมหลวม เดินไม่ดีเหมือนเดิม ดังนั้นการทำตามคำแนะนำของแพทย์ร่วมกับกายภาพบำบัดฝึกกล้ามเนื้อและการใช้อุปกรณ์สำหรับเซฟข้อเข่าเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ทุกการใช้ชีวิตหลังการผ่าตัดนั้นราบรื่นยิ่งขึ้น 

 

1.  ประคบเย็น

     เบื้องต้นควรพักฟื้นและทานยาลดการอักเสบตามที่แพทย์จัดให้ หากปวดบวมแดง เขียวช้ำ เราควรประคบเย็นที่ข้อเข่าในทุก 2 ชั่วโมงเพื่อลดการอักเสบ   

 

2.  ฝึกกายภาพข้อเข่า

เราสามารถฝึกข้อเข่าเบื้องต้นใน 4 ท่า ทั้งขณะที่นั่ง นอนราบและเดิน ดังต่อไปนี้

 

  • นอนหงายโดยใช้หมอนรองใต้เข่า ยกขาสูงค้างไว้ 6 วินาที และใช้หมอนรองเข่าให้ถึงช่วงข้อพับ โดยเริ่มต้นทำ 10 ครั้ง หรือตามแต่จำนวนครั้งที่ทำได้
  • นอนชันเข่า โดยค่อย ๆ งอขาข้างที่เจ็บขึ้นตรงเท่าที่ทำได้ 
  • นั่งเหยียดเข่าตรงกับเก้าอี้ กรณีที่ไม่ปวดหลัง เราสามารถนั่งพิงเก้าอี้และค่อย ๆ เหยียดเข่าตรงค้างไว้ 6 วินาที โดยทำ 10 ครั้งหรือเท่าที่ไหว ก่อนเพิ่มจำนวน
  • ใช้วอร์กเกอร์ขณะเดิน เริ่มต้นด้วยนั่งห้องขาข้างเตียง โดยมีผู้ดูแลจัดท่าและนำวอร์กเกอร์ช่วยพยุงตัว เมื่อตั้งท่าได้มั่นคงแล้วจึงค่อยเริ่มเดิน

 

 

 

 

 

ดูแลหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า

 

 

 

3.  ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงขณะทำกิจกรรม

     หลังจากได้รับการทำกายภาพบำบัด เราควรใช้นั่งรถเข็น อุปกรณ์เสริมช่วงพยุงข้อเข่า หรือเครื่องมือช่วยเดินอื่น เช่น ไม้เท้า วอร์กเกอร์ อีกทั้งควรควรระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหารและการติดเชื้อในกระแสเลือดตลอดช่วง 1 ปีหลังผ่าตัด
 

คำแนะนำจากแพทย์

  • ลดการเดินหรือใช้ข้อเข่ามากเกินไป เช่น วิ่ง กระโดด ก้าวขึ้น-ลงบันไดเยอะ ๆ นั่งยอง นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ
  • ไม่ควรให้แผลโดนน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการหายาแก้ปวดมาทานเอง การทานยามากเกินไปอาจส่งผลกับไตหรือกระเพาะอาหาร
  • ประคองข้อเข่าด้วยท่ากายบริหารฝึกกล้ามเนื้อหน้าเข่า (Quadriceps Muscle) เพื่อชะลอการเสื่อมสภาพ

 

 

 

สล็อต