นพ. พชร ลี้มิ่งสวัสดิ์
อายุรศาสตร์ สาขาประสาทวิทยา อนุสาขาโรคหลอดเลือดสมอง
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
นอกเหนือจากโรคหัวใจและโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมองยังเป็นโรคที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นของโลก ปัจจุบันโรคหลอดเลือดสมองไม่ได้พบเฉพาะผู้สูงอายุ แต่ยังพบในผู้มีอายุน้อยกว่า 45 ปี ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับทุกคน หากเกิดกับเราจะทำอย่างไร แล้วถ้าเกิดเรา.. ควรทำอย่างไร
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เกิดจากการตีบ แตกหรืออุดตันของหลอดเลือดสมองจนสมองได้รับความเสียหาย ผู้ป่วยจะมีอาการชา แขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่ง ปากเบี้ยวหรือพูดไม่ชัด ซึ่งเรียกรวมว่า ‘อัมพฤกษ์-อัมพาต’
อาหารที่รับประทานเป็นจุดเปลี่ยนแรกที่ช่วยชีวิตของคุณได้ เพียงปรับเปลี่ยนการทานหวาน มัน เปรี้ยวและเค็มจัด เป็นการทานอาหารธรรมดาที่ได้จากการต้ม นึ่งและย่างแทน หากทานผักผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อยก็ช่วยควบคุมความดัน น้ำตาลและไขมันในเลือด ซึ่งเป็นต้นตอก่อโรคหลอดเลือดสมองและโรคอีกหลายชนิด
‘ทีเอ็มเอโอ’ หรือ ไตเมตทีลามีน เอ็นออกไซด์ (TMAO :Trimethylamine N-Oxide) เป็นสารที่ได้จากการย่อยกลุ่มเนื้อสัตว์สีแดง ผลิตภัณฑ์นมและไขมันเป็นส่วนมาก เมื่อทานเข้าไปมากจึงเพิ่มโอกาสเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองเป็นอย่างน้อย ดังนั้นเราควรทานอาหารให้สมดุลด้วยสัดส่วนที่พอเหมาะ
การออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ไม่เพียงช่วยขจัดไขมันส่วนเกินในร่างกาย แต่ยังช่วยฝึกความแข็งแรงของร่างกายและสมองไปพร้อมกัน จะให้ดีลองเปลี่ยนสถานที่และเส้นทางออกกำลังกายใหม่ ๆ เพื่อให้สมองได้พัฒนาจากการรับสิ่งใหม่ และลดการเกิดโรคสมองเสื่อมได้อีกทาง
บุหรี่มีนิโคตินซึ่งส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแดงตีบและเปราะแตกง่าย เมื่อสูบมากจึงเพิ่มโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองแตกและกลายเป็นอัมพาต อย่างไรก็ตาม เราสามารถลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ 40 - 50 เปอร์เซ็นต์ หากหยุดบุหรี่ได้ภายใน 2 - 5 ปี ซึ่งควรทำร่วมกับการเลิกดื่มสุรา
เมื่อความเครียดก่อตัวขึ้น ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนัก เลือดที่แต่เดิมไหลเวียนปรกติก็เกิดแรงดันสูงและมีโอกาสเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองแตกได้ การรู้เท่าทันอารมณ์และผ่อนคลายความเครียดด้วยกิจกรรมเบา ๆ ช่วยให้รู้สึกสุขกายสบายใจ
โรคร้ายเป็นภัยเงียบที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า กว่าจะรู้ว่าเป็นโรคก็อาจสายไป การตรวจสุขภาพประจำปีเป็นสิ่งที่บอกให้เรารู้ว่าร่างกายโดยรวมเราเป็นอย่างไร แต่การตรวจคัดกรองโรคหลอดเลือดสมองช่วยให้แพทย์รู้สัญญาณโรคเชิงลึกที่เกิดกับสมองโดยเฉพาะ
อายุรศาสตร์ สาขาประสาทวิทยา อนุสาขาโรคหลอดเลือดสมอง