TMAO ภัยร้ายจากอาหาร เร่งเกิดโรคสมองเสื่อม

March 14 / 2025

tmao สมองเสื่อม

 

 

     ‘TMAO’ อาจเป็นคำที่หลายคนอาจไม่รู้จักและได้ยินบ่อย แต่กลับเป็นปัจจัยสำคัญตัวหนึ่งที่เร่งให้เกิดโรคสมองเสื่อมและอีกหลากหลายโรค เพียงเริ่มทานอาหารไม่สมดุลในทุกวัน 

 

TMAO คืออะไร

     ทีเอ็มเอโอ (TMAO : Trimethylamine N-Oxide) คือสารที่ได้จากการย่อยอาหารกลุ่มโคลีน เลซิตินหรือคาร์นิทีนของแบคทีเรียในลำไส้ ซึ่งพบมากในเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากนมและไขมัน หากทานมากไปยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ โรคทางสมองและโรคแทรกซ้อนอื่น

 

 

tmao สมองเสื่อม

 

 

อาหารกลุ่มใดที่ก่อให้เกิดสาร TMAO

  • โคลีน พบมากในไข่ นมและชีส
  • คาเนทีน พบมากในเนื้อสัตว์สีแดง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู อกไก่
  • เลซิติน สารอาหารซึ่งพบได้ในถั่วเหลือง ข้าวโอ๊ต ช็อกโกแลต


 


แม้เป็นส่วนประกอบของสารเคมีในสมองอย่าง “อะเซทิลโคลีน” (Achetylcholine) ซึ่งมีส่วนช่วยกระตุ้นความจำ แต่ไม่ควรทานมากเกินไป เพราะเพิ่มโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อม


 

 

 

tmao สมองเสื่อม

 

 

TMAO ในฐานะตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ

TMAO ยังจัดเป็นหนึ่งในสารสำคัญที่แพทย์ใช้บ่งชี้โอกาสการเป็นโรคหลากประเภท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคสมองเสื่อม โดยพิจารณาจาก 2 คุณสมบัติ

 

1. ความไว (Sensitivity)

อาการของโรคจะเกิดช้าหรือเร็วหลังได้รับสาร TMAO หรือผู้ใดมีความเสี่ยงสูงจะเป็นโรคนั้น ขึ้นอยู่กับ 

 

  • อายุ จะมีมากหรือน้อยล้วนมีการตอบสนองที่ต่างกัน
  • โรคที่มีอยู่ก่อน เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน

 

2.  ความจำเพาะ (Specificity)

     TMAO ยังเป็นตัวชี้วัดที่บ่งบอกว่าผู้นั้น ‘มี’ หรือ ‘ไม่มี’ ความเสี่ยงเป็นโรคนั้น โดยแพทย์จะไม่ละเลยพิจารณาปัจจัยอื่นซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับตัวโรค แม้ TMAO เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพที่ใช้บอกความเสี่ยงและการพยากรณ์โรค (prognostic indicator) แพทย์ก็ยังต้องใช้ร่วมกับการประเมินทางคลินิกและตัวบ่งชี้ทางชีวภาพอื่นเพื่อเพิ่มความแม่นยำของการวินิจฉัยโรค

 

 

 

tmao สมองเสื่อมtmao สมองเสื่อมtmao สมองเสื่อม

 

 

TMAO ส่งผลต่อสุขภาพของเราอย่างไร ?

สารดังกล่าวสามารถก่อผลเสียต่อสุขภาพหลากหลายประการ ดังต่อไปนี้
 

1.  เพิ่มการสะสมของตะกรันในผนังหลอดเลือด

ตะกรัน (Plaque) คือสิ่งที่ได้จากการสะสมของไขมัน แคลเซียมและสารอื่นในผนังหลอดเลือด โดย TMAO เป็น “ตัวเร่ง” ให้ตะกรันหลุดไปอุดตันหลอดเลือดส่วนปลาย ทำให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ไม่สะดวกจนเกิด

 

 

tmao สมองเสื่อม

 

 

 

2.  กระตุ้นภาวะอักเสบในหลอดเลือด

     TMAO ทำให้ระบบประสาทเกิดการอักเสบ เนื่องจากมีส่วนเร่งการหลั่งไซโตไค (Cytokines) ซึ่งเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการทำลายเนื้อเยื่อสมอง ทำให้เพิ่มโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อม นอกจากนี้ยังมีส่วนทำลายเซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือดจนเกิดภาวะหลอดเลือดสมองอุดตันตามมา

 

tmao สมองเสื่อม

 

 

3.  เพิ่มโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง

     TMAO มีส่วนเร่งกระบวนการเกิดตะกรันและยังเพิ่มโอกาสเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว โดยระดับ TMAO ที่สูงมีส่วนสัมพันธ์กับโอกาสเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นแพทย์จึงต้องวินิจฉัยภาวะเสี่ยงด้วยการตรวจด้วยเทคโนโลยีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI ร่วมกับการตรวจหลอดเลือด เช่น Carotid Duplex 

 

 

tmao สมองเสื่อม

 

 

Carotid Duplex

เป็นการตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดคาโรติดซึ่งอยู่บริเวณคอและมีหน้าที่ลำเลี้ยงเลือดไปเลี้ยงสมอง แพทย์ใช้เพื่อ

 

  • ประเมินการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือด
  • ตรวจสอบการตีบตันหรือตะกลัน
  • ช่วยประเมินความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองและสามารถใช้ติดตามผลการรักษา

 

 

tmao สมองเสื่อม

แหล่งอ้างอิงรูปภาพ : //www.bangkokbiznews.com/social/860941

 

 

TMAO กับโรคสมองเสื่อม

     TMAO ก่อให้เกิดความผิดปกติของโปรตีนในสมอง ซึ่งอาจกระตุ้นการสะสมของโปรตีนอะไมลอยด์เบต้า (Amyloid-Beta) และโปรตีนเทาว์ (P-Tau) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของการเป็นโรคอัลไซเมอร์

 

อ่านเพิ่มเติม: การวินิจฉัยและการตรวจหาสาเหตุของโรคสมองเสื่อม

 

 

 

tmao สมองเสื่อมtmao สมองเสื่อมtmao สมองเสื่อมtmao สมองเสื่อม

 

 

การปรับอาหารที่รับประทานช่วยลดภาวะเสี่ยง

เราสามารถลดเลี่ยงโอกาสเสี่ยงของโรคจากสาร TMAO ในร่างกายได้ แรกเริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนอาหารที่รับประทาน โดยยึดหลัก ‘ทานแต่พอดี และเหมาะสมในแต่ละวัน’  

 

  • ลดการทานเนื้อสัตว์สีแดง นม ถั่วและไข่
  • ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเองอย่างสม่ำเสมอ
  • เพิ่มการทานผัก ผลไม้และธัญพืชเพื่อป้องกันโรคสมองเสื่อม ซึ่งควรเป็นผลไม้เนื้อนุ่ม เช่น มะละกอ กล้วย ส้ม 
  • แทรกเมนูปลาและอาหารทะเลชนิดอื่นเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารจากหลากหลายแหล่ง
  • หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น น้ำอัดลม ไส้กรอก อาหารแช่แข็ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมคบเคี้ยว
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


อ่านเพิ่มเติม: 7 สิ่งช่วยชะลอและป้องกันตัวเราให้ห่างไกลโรคสมองเสื่อม

 

 

 

 

สล็อต