การดูแลสุขภาพก่อน-ระหว่าง-หลังฉีดวัคซีนโควิด-19

February 25 / 2025

 

 

ข้อควรปฏิบัติก่อน-ระหว่าง-หลังเข้ารับวัคซีนโควิด-19

 

 

 

 

     วัคซีนป้องกัน COVID-19 ก็เหมือนกับวัคซีนอื่นๆ ที่ไม่ได้ให้ผลในการป้องกัน 100% ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของวัคซีนและการตอบสนองของแต่ละบุคคล โดยประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ 60-90% แล้วแต่ประเภทของวัคซีน แต่คุณสมบัติสำคัญของวัคซีน COVID-19 ทุกตัวสามารถลดความรุนแรงของการป่วยหลังการติดเชื้อและการเสียชีวิตได้เกือบ 100% ซึ่งจะทำให้การต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและการสูญเสียชีวิตลดลงได้อย่างมาก



 


เพื่อให้การรับวัคซีนได้ประโยชน์สูงสุด และป้องกันหรือลดอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เราจึงจำเป็นต้องเตรียมตัว เตรียมสุขภาพ เพื่อให้พร้อมสำหรับการเข้ารับวัคซีน ดังนี้


 

ก่อนเข้ารับการเข้ารับวัคซีน COVID-19

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือ มียาประจำที่ต้องรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หากเจ็บป่วย มีไข้ ไม่สบาย ให้เลื่อนการเข้ารับวัคซีนออกไปก่อนอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ งดครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารให้เรียบร้อย หากมียารักษาโรคประจำตัวก็ให้รับประทานได้เลย
  • ถ้าใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือด กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ ณ จุดลงทะเบียน
  • สำหรับผู้ป่วยที่ทานยากลุ่ม Warfarin และไม่มีประวัติการรักษาหรือมีผล INR ที่โรงพยาบาลรามคำแหง ภายใน 1 เดือน ก่อนวันเข้ารับวัคซีน กรุณานำผล INR มาแจ้งด้วยตัวท่านเอง (ถ้าไม่สามารถระบุผล INR ได้ ทางโรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์พิจารณาเลื่อนหรือยกเลิกการเข้ารับวัคซีนของท่าน)
  • เข้ารับวัคซีน COVID-19 ห่างจากการเข้ารับวัคซีนอื่น 4 สัปดาห์
  • กรณีตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ และโรงพยาบาลของดการเข้ารับวัคซีน

 

 

 

 

 

 

ระหว่างเข้ารับการเข้ารับวัคซีน COVID-19

  • เตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในการเข้ารับการเข้ารับวัคซีนให้พร้อม เช่น บัตรประชาชน ข้อมูลการลงทะเบียน เพื่อความสะดวกรวดเร็ว
  • เดินทางมาถึงโรงพยาบาลก่อนเวลานัด 30 นาที
  • ใส่เสื้อผ้าหลวมสบายเปิดหัวไหล่สะดวก ง่ายต่อการเข้ารับวัคซีน
  • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือให้สะอาด และเว้นระยะห่าง
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคอ้วน โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนเข้ารับ
  • ก่อนรับวัคซีน ไม่จำเป็นต้องหยุดยาใดๆ หรือกินยาอื่นๆ นอกเหนือจากคำสั่งแพทย์
  • เจ้าหน้าที่ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ความดันโลหิต และค่าออกซิเจนในเลือด ก่อนรับการเข้ารับวัคซีน
  • แนะนำให้เข้ารับแขนข้างที่ไม่ค่อยถนัด งดใช้หรือเกร็งแขนข้างที่เข้ารับ
  • ปฏบัติตามคำแนะของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด

 

 

 

ดูแลสุขภาพ ก่อนและหลังเข้ารับวัคซีนโควิดดูแลสุขภาพ ก่อนและหลังเข้ารับวัคซีนโควิดดูแลสุขภาพ ก่อนและหลังเข้ารับวัคซีนโควิด

 

 

 

 

หลังรับการเข้ารับวัคซีน COVID-19

1.  การพักรอดูอาการ

     พักรอดูสังเกตอาการที่โรงพยาบาลหรือจุดที่เข้ารับวัคซีน 30 นาทีอย่างเคร่งครัด อาการข้างเคียงหลังเข้ารับวัคซีน COVID-19 ที่อาจเกิดขึ้น เช่น
 

1.1.  อาการไม่รุนแรง

     สามารถหายได้เองภายใน 3 วัน ซึ่งเป็นอาการทั่วไป เช่น มีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ หรือปวด บวม แดง คันหรือซ้ำบริเวณที่เข้ารับยา อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หรือมีอาการชาเฉพาะที่

 

1.2.  อาการรุนแรง

     พบได้ไม่บ่อยหรือพบได้น้อย เช่น มีก้อนบริเวณที่เข้ารับยา เวียนศีรษะ มึนงง ใจสั่น ปวดท้อง อาเจียน ความอยากอาหารลดลง เหงื่อออกมากผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชักหมดสติ อาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล
 

1.3.  อาการแพ้วัคซีน

     เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง ความดันตก หลอดลมตีบ หายใจลำบาก มีผื่นขึ้นตามตัว หากพบว่ามีอาการรุนแรง หลังการเข้ารับวัคซีนควรรีบพบแพทย์ทันที

 

 

ดูแลตัวเองก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19

 

2.  การหลีกเลี่ยงเกร็งแขนข้างที่ได้รับวัคซีน

     พยายามอย่าเกร็งแขนข้างที่เข้ารับวัคซีน หรือใช้แขนยกของหนักอย่างน้อย 2 วัน

 

3.  การหลีกเลี่ยงเกร็งแขนข้างที่ได้รับวัคซีน

     หากมีไข้หรือปวดเมื่อยมาก ผู้ป่วยควรรับประทานยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม 1 เม็ดและรับประทานซ้ำได้โดยห่างกัน 6 ชั่วโมง (ห้ามรับประทานยาพวก Brufen, Arcoxia, Celebrex เด็ดขาด)

 

 

 

ดูแลตัวเองก่อนและหลังฉีดวัคซีนโควิด-19

 

 

4.  การวัดความดันโลหิต

     เมื่อพักรอดูอาการครบ 30 นาที เจ้าหน้าที่จะทำการวัดความดันโลหิตอีกครั้งก่อนกลับ และเมื่อกลับบ้านแล้วยังต้องสังเกตอาการของตัวท่านเองต่ออีก 48-72 ชั่วโมง หากพบอาการผิดปกติที่รุนแรง เช่น ชาครึ่งซีก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที

 

 

     หลังจากได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้วก็ยังคงต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับเข้ารับวัคซีนเข็มที่สองกระตุ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อหรืออาการป่วยรุนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เป็นเพียงปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อวัคซีนเท่านั้น

 

 


และแม้ว่าจะเข้ารับวัคซีนแล้วก็ยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันต่อไปอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และล้างมือบ่อยๆ เพื่อไม่ให้เรากลายเป็นผู้แพร่เชื้อแบบไม่มีอาการ ที่อาจจะเป็นต้นเหตุให้ผู้ที่ยังไม่ได้เข้ารับวัคซีนหรือผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อจากเราได้


 

 

 

 

สล็อต