นพ. สงัด ลิมปิวัฒกี
Orthopedics
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคที่ความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลงจนทำให้กระดูกเสื่อม เปราะบาง และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย ในผู้ป่วยบางรายกระดูกพรุนมีผลให้ส่วนสูงลดลง เนื่องจากมวลกระดูกผุกร่อน ผลจากโรคกระดูกพรุนคือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก เนื่องจากกระดูกสามารถรับน้ำหนัก แรงกระแทก หรือแรงกดได้ลดลง
กระดูกประกอบด้วยเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblast) ทำหน้าที่สร้างกระดูกขึ้นมาใหม่จากแคลเซียมและโปรตีนตามกระบวนการการเจริญเติบโตของร่างกายและช่วยทดแทนกระดูกส่วนที่สึกหรอ และภายในกระดูกยังมีเซลล์สลายกระดูก (Osteoclast) ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูกเก่า โรคกระดูกพรุนเกิดจากการทำงานที่ไม่สมดุลกันของเซลล์กระดูกทั้ง 2 ชนิดจึงทำให้มีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูกเกิดขึ้น
ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมักจะทราบว่าตนป่วยเมื่อมีอาการแสดงไปแล้ว และยังมีอาการบ่งชี้อื่น ๆ ที่ควรใส่ใจสังเกต เพื่อให้สามารถรักษาได้ทันการณ์ ดังนี้
อ่านเพิ่มเติม: “กระดูกพรุน” หรือไม่ รู้ได้จากการ “ตรวจมวลกระดูก”
การรักษาทางยา มียาหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคกระดูกบาง โดยเฉพาะหญิงวัยทอง กลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน ได้แก่
เพื่อแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากภาวะกระดูกหัก เช่น การฉีดซีเมนต์ ที่กระดูกสันหลัง ในรายที่กระดูกสันหลังหัก ยุบ หรือการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในรายที่กระดูกสะโพกหัก สิ่งที่ทำให้ทราบได้ว่ากระดูกมีการเสื่อมสภาพหรือไม่คือการปรึกษาแพทย์เพื่อซักประวัติ เอกซเรย์ ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกและหากพบความผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลที่ถูกต้อง
โรคกระดูกพรุนสามารถลดความเสี่ยงได้โดยการดูแลสุขภาพและบำรุงกระดูก ได้แก่
อ่านเพิ่มเติม: เช็กด่วน!!!...วัยทองก่อน "กระดูกพรุน"
สิ่งที่จะทำให้ทราบได้ว่ากระดูกมีการเสื่อมสภาพหรือไม่ ทำได้โดยการปรึกษาแพทย์เพื่อซักประวัติ เอกซเรย์ ตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก หากพบความผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลที่ถูกต้อง
แก้ไข
29/07/2565
Orthopedics
Orthopedics
ออร์โธปิดิกส์, เวชศาสตร์ครอบครัว
Orthopedics