การส่องกล้องทางเดินอาหาร ช่วยสืบโรคลึก ตรวจง่ายและไม่อันตราย

March 31 / 2025

ส่องกล้องทางเดินอาหาร

 

 

 

 

 

     การส่องกล้องทางเดินอาหาร (Gastroscopy) เป็นวิทยาการแพทย์สมัยใหม่ซึ่งช่วยให้แพทย์เห็นความผิดปรกติในระบบทางเดินอาหารได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยแพทย์ขอจำแนกการส่องกล้องทางเดินอาหารเป็น 2 แบบ ได้แก่ การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น และการส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนปลาย

 

การส่องกล้องทางเดินอาหารสำคัญอย่างไร

     เนื่องจากมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่พบมากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นอันดับ 3 ของผู้ชายเเละอันดับ 5 ของผู้หญิง ปัจจุบันจึงมีคำแนะนำให้ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 50 ปีขึ้นไปโดยที่ไม่ต้องรอให้มีอาการผิดปกติ เนื่องจากเป็นช่วงอายุที่ตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้บ่อยขึ้นตามสถิติ แต่ถ้ามีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมีอาการผิดปกติ เช่น การขับถ่ายอุจจาระผิดปกติ ท้องผูกสลับท้องเสีย มีเลือดออกทางทวารหนัก น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เราจึงจำเป็นต้องตรวจก่อนหน้านั้น โดยที่ไม่ต้องรอจนอายุ 50 ปี

 

 

 

 

 

การส่องกล้องทางเดินอาหาร

1. การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้น

     แพทย์สามารถใช้การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนต้นตรวจดูการทำงานและความผิดปรกติตั้งแต่บริเวณหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น ทั้งการตรวจดูภาวะอักเสบของกระเพาะอาหารจากเชื้อ Heliocobacter Pylori โรคกรดไหลย้อน โรคทางหลอดอาหาร แผลในกระเพาะอาหาร

 

2. การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนปลาย

     การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนปลายเป็นการตรวจสิ่งที่เกิดขึ้นในลำไส้ใหญ่ ไส้ตรงและลำไส้เล็กส่วนปลาย โดยหากจำกัดความเหลือแค่คำว่า ‘การส่องกล้องตรวจลำไส้’ (Colonoscopy) เพื่อค้นหาความผิดปรกติได้ตั้งแต่ยังไม่เกิดอาการ โดยเฉพาะโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ซึ่งพบมากในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป  

 

 

ส่องกล้องทางเดินอาหาร


 

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (Colonscopy)

การส่องกล้องลำไส้ใหญ่เป็นการตรวจโรคด้วยการใช้กล้องพิเศษแบบท่อยาวเล็กสอดผ่านทวารหนักเพื่อหาความผิดปรกติในลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กส่วนปลาย โดยกลุ่มที่ควรเข้ารับการตรวจมี ดังนี้

 

  • มีอายุ 40 - 50 ปี
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  • มีอาการปวดท้องเรื้อรัง
  • ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือดปน
  • ถ่ายสีดำ คลำพบก้อนในท้อง น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ

 

อ่านเพิ่มเติม : ศูนย์โรคทางเดินอาหาร โรงพยาบาลรามคำแหง

 

 

ส่องกล้องทางเดินอาหาร

 

 

การเตรียมตัวเข้ารับการตรวจ

  • ก่อนตรวจ ก่อนวันตรวจหนึ่งวัน ควรรับประทานอาหารอ่อน เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม งดอาหารประเภทผัก ผลไม้ อาหารเสริม ยาบำรุงเลือดและยาแก้ท้องเสีย ในบางรายแพทย์อาจให้ใช้ยาระบายในคืนก่อนวันตรวจหรือ อาจจะให้รับประทานยาล้างลำไส้ตอนเช้าก็ได้ เมื่อถึงวันตรวจให้งดอาหารอย่างน้อย 6 ชั่วโมง 
  • ระหว่างการส่องกล้องทางเดินอาหาร แพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึกขณะสอดส่องกล้อง 
  • หลังตรวจ นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลราว 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ฟื้นตัวจากยาระงับความรู้สึก เนื่องจากหากลุกเร็วเกินไปอาจเกิดลมแน่นท้องเล็กน้อยจากการที่แพทย์ใส่ลมไปในลำไส้ระหว่างการตรวจ ซึ่งระบายออกหมดเองในไม่กี่นาที ทั้งนี้ส่วนใหญ่ยังรับประทานอาหารและปฏิบัติกิจวัตรได้ตามปกติ

 

 

 

การส่องกล้องทางเดินอาหาร

 

 

ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหาร โรงพยาบาลรามคำแหง

     ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหาร พร้อมให้การดูแลอย่างทุ่มเทจากแพทย์เฉพาะด้านซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เข้ารับการตรวจเป็นสำคัญ โรงพยาบาลรามคำแหงจึงได้เตรียมวิทยาการแพทย์สมัยใหม่เพื่อให้ทุกการตรวจเป็นไปอย่างราบรื่น 

 

 

สล็อต