โรคซึมเศร้าหลังคลอด พร้อมรับมือเมื่อเกิดกับตัว

May 07 / 2025

โรคซึมเศร้าหลังคลอด

 

 

 

     แม้การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายเริ่มเสริมสร้างสิ่งต่าง ๆ เพื่อเตรียมรับชีวิตใหม่ แต่เมื่อถึงช่วงหลังคลอด เรากลับรู้สึกอ่อนแอลงทั้งกายและใจ โรคซึมเศร้าหลังคลอดเป็นสิ่งที่สามารถเกิดได้ในมารดาหลังคลอดบุตร หากสิ่งนั้นเกิดขึ้นกับเราเอง เราควรทำอย่างไร หมอจึงอยากชวนมาทำความรู้จักโรคนี้

 

โรคซึมเศร้าหลังคลอด

     โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression) เป็นภาวะที่พบได้ประมาณ 10 -15 เปอร์เซ็นต์ในมารดาหลังคลอดบุตร โดยผู้ป่วยจะมีอารมณ์เศร้า นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร รู้สึกไร้ค่า มีความคิดที่ไม่อยากมีชีวิตอยู่ อาการจะเกิดขึ้นภายใน 12 สัปดาห์หลังคลอด โดยอาการต่าง ๆ เป็นนานเกิน 2 สัปดาห์

 

'ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด' ไม่ใช่ 'โรคซึมเศร้าหลังคลอด'

     ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum blue) และโรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum depression) ไม่เหมือนกัน ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (postpartum blue) จะพบได้ประมาณ 30 -75 เปอร์เซ็นต์ในมารดาหลังคลอดบุตร โดยมีอารมณ์เศร้า หงุดหงิด อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ อย่างไรก็ตาม ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดจะไม่กระทบการใช้ชีวิตประจำวันและไม่กระทบความสามารถในการเลี้ยงดูบุตร โดยอาการจะเกิดภายใน 3-5 วันหลังคลอด และอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์

 

 

โรคซึมเศร้าหลังคลอด

 

 

สาเหตุของโรคซึมเศร้าหลังคลอด

     ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ปัจจุบันวงการแพทย์ต่างเชื่อว่าอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงหลังคลอด ความเครียดของเหตุการณ์ในชีวิต

 

อาการของโรคซึมเศร้าหลังคลอด 

  • มีอารมณ์เศร้าเป็นแทบทั้งวัน แทบทุกวัน
  • ความสนใจ ความสุข ความเพลิดเพลินในการทำกิจกรรมที่เคยทำลดลงอย่างมาก
  • นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป
  • ทำอะไรช้า เคลื่อนไหวช้าลง หรือกระสับกระส่าย
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • รู้สึกไร้ค่า หรือมีความรู้สึกผิดมากเกินเหตุอันควร
  • ความสามารถในการคงความสนใจลดลง
  • ความอยากอาหารเพิ่มขึ้นหรือเบื่ออาหารแทบทุกวัน
  • คิดถึงเรื่องความตายอยู่ซ้ำ ๆ หรือคิดจบชีวิตตัวเอง

 

การวินิจฉัย

     จิตแพทย์จะทำการซักประวัติ ประเมินอาการทางจิตใจ ตรวจร่างกายเพื่อใช้ในการวินิจฉัยแยกโรค โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยตามเกณฑ์ DSM-V 

 

 

 

โรคซึมเศร้าหลังคลอด

 

 

 

การรักษาโรคซึมเศร้าหลังคลอด

  • การทำจิตบำบัด เช่น การทำจิตบำบัดปรับความคิดและพฤติกรรม (CBT)  
  • การรักษาด้วยยา เช่น ยาต้านเศร้า

 

วิธีดูแลตนเองเมื่อมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

  • เราสามารถรับมือกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดตั้งแต่ช่วงยังตั้งครรภ์อยู่ โดยเริ่มตั้งแต่
  • การเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจภาวะเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าทั้งก่อนและหลังคลอด
  • การเข้ารับคำปรึกษาจากบุคลากรการแพทย์เรื่องโภชนาการ
  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มสมดุลทั้งกายและใจ
  • การมองโลกด้วยความหวังและให้โอกาสตัวเองได้พบกิจกรรมที่ทำให้มีความสุข
  • แรงใจจากคนใกล้ชิดเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเราได้ก้าวผ่าน

 

 

 

สล็อต