นพ. สุชาติ ตรีทิพย์ธิคุณ
จิตเวชศาสตร์
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
โรคหลอดเลือดสมองมีส่วนส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ หากสมองส่วนด้านอารมณ์ได้รับผลกระทบด้วย ผู้ป่วยก็มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้าได้ โดยอาการที่พบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยมีตั้งแต่อาการนอนไม่หลับ อ่อนเพลีย กระสับกระส่าย ความอยากอาหาร อารมณ์และความรู้สึกนึกคิดที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น รู้สึกไร้ค่า เหม่อลอย รู้สึกพึงพอใจในชีวิตน้อยลง
โรคซึมเศร้าหลังโรคหลอดเลือดสมอง (PSD : Post-Stroke Depression) เป็นภาวะทางจิตที่พบบ่อยในกลุ่มผู้ป่วยหลังเป็นโรคหลอดเลือดสมอง 3 เดือนเป็นต้นไป ส่วนใหญ่มักพบในช่วงวัยกลางคนตั้งแต่อายุ 55 ปีขึ้นไป โดยสาเหตุเกิดได้จากตำแหน่งและขนาดของรอยโรคในสมอง หากรอยโรคนั้นเกี่ยวข้องกับสมองส่วนรู้คิดและอารมณ์ร่วมกับความเสื่อมของสมองตามอายุที่มากขึ้นและโรคประจำตัวก็มีส่วนให้เกิดโรคได้
เนื่องจากโรคหลอดเลือดสมองส่งผลให้ผู้นั้นเป็นอัมพาต ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถดูแลตัวเองได้เหมือนเดิมและรู้สึกว่าสูญเสียคุณค่าในตัวเองไป เมื่อผู้ป่วยเครียดสะสมย่อมทำให้การสร้างเซลล์ประสาทใหม่ลดลงและทำให้สารเคมีในสมองบางชนิดไม่สมดุล เช่น เซโรโทนิน โดปามีน นอร์อีพิเนฟฟริน อย่างไรก็ตาม แพทย์จำเป็นต้องสังเกตอาการ ใช้เกณฑ์การวินิจฉัยหลายประเภทเพื่อแยกโรคและเลือกการรักษาที่เหมาะสม
นอกเหนือจากการรักษาด้วยยาทางกาย การสร้างสังคมที่ดีก็เป็น ‘ยาใจ’ ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตให้กลับมาแข็งแรง การรับฟังอย่างเข้าใจควบคู่กับการทำกิจกรรมที่สร้างความหมายแก่ชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่า เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกรักและภาคภูมิใจในตัวเองได้อีกครั้ง
จิตเวชศาสตร์