นพ. ดนัย ลิ้มมธุรสกุล
อายุรแพทย์ทางเดินอาหาร
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้🍪
เราใช้ Cookies เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์ออนไลน์ที่ดีที่สุด สรุปนโยบายความเป็นส่วนตัวและ Cookies อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
“กินแล้วมีพลังและมีความสุข” เป็นหลักพื้นฐานที่เราได้จากการทานอาหาร หากเราเลือกรับประทานอาหารที่ไม่สมดุลก็ทำให้ความสุขของเราลดลงและรู้สึกไร้พลัง โรคลำไส้อักเสบเป็นสิ่งที่หลายคนไม่เคยคาดคิด ดังนั้นหมอจึงอยากแบ่งปันวิธีการดูแล ป้องกันโรคและเล่าถึงความสำคัญของลำไส้ในอีกแง่มุมหนึ่ง
นอกจากลำไส้มีหน้าที่ย่อยและดูดซึมสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย ลำไส้ยังเปรียบเสมือน ‘สมองที่สอง’ ซึ่งสามารถวิเคราะห์และคัดแยกกลุ่มสารอาหารเพื่อใช้ย่อยได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังสามารถสร้างสารสื่อประสาทหลากชนิด และหนึ่งในนั้นคือสารแห่งความสุขที่ชื่อ ‘เซโรโทนิน’ (Serotonin)
ทานแล้วมีความสุขคือสิ่งที่ดี หากทานไม่ดีก็อาจเกิดทุกข์ เพราะเกิดมวนท้องในลำไส้
เพราะสมองและลำไส้สื่อสารคู่กันตลอดเวลา เมื่อทานบางสิ่งที่ผิดปรกติเข้าไป ลำไส้จะเริ่มส่งสัญญาณไปที่ระบบภูมิคุ้มกันให้ร่างกายขับสิ่งผิดปรกติออกในรูปแบบของอาการท้องเสีย จุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ก็ได้รับผลกระทบจนส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว
สภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปล้วนส่งให้เราต้องดูแลสุขภาพมากกว่าเดิม อาหารจึงจัดเป็นปัจจัยสำคัญให้ชีวิตได้ดำรงอยู่ต่อไป การทานอาหาร 5 หมู่ในสัดส่วนที่ไม่พอเหมาะเป็นตัวการหนึ่งที่ก่อโรค เมื่อเผชิญกับความเครียดก็ยิ่งเร่งให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะไม่สงบ หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นที่รุนแรง
อ่านเพิ่มเติม: TMAO ภัยร้ายจากอาหาร เร่งเกิดโรคสมองเสื่อม
อาหารที่เหมาะสมสามารถช่วยป้องกันและลดอาการลำไส้อักเสบได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรเลือกอาหารตามสภาพอาการและการแนะนำของแพทย์
ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารอ่อนและอาหารเหลวที่ย่อยง่าย เพื่อลดภาระของลำไส้
อาหารที่อุดมด้วยใยอาหาร เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ที่มีกากใยมาก ๆ หรือธัญพืชเต็มเมล็ด จะช่วยขับถ่ายและลดความเสี่ยงจากการเกิดอาการท้องผูก
การทานอาหารไขมันต่ำอย่างไข่ขาวและกลุ่มอาหารทะเลที่อุดมด้วยโอเมก้า 3 สามารถช่วยลดทอนการอักเสบ เนื่องจากอาหารไขมันสูงเพิ่มโอกาสเกิดลำไส้อักเสบและโรคแทรกซ้อนอื่น เช่น โรคเบาหวาน ดังนั้นผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงทานอาหารทอด ไขมันทรานซ์และอาหารแปรรูป เช่น เค้ก ไส้กรอก ของหมักดอง
ผู้ป่วยควรเลือกทานอาหารกลุ่มโซเดียมต่ำ เพื่อป้องกันการบวมน้ำ โดยเฉพาะอาหารกลุ่มเต้าหู้ นมถั่วเหลือง เพราะมีประโยชน์อื่นให้ผู้ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแล็คโทสได้
การบริโภคโปรไบโอติกส์ เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ก็สามารถเสริมสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ พร้อมช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น เมื่อรับประทานผัก ผลไม้ร่วมด้วยจะช่วยเป็นอาหารสำหรับเสริมสมดุลแบคทีเรียในลำไส้
การดื่มน้ำสะอาดไม่เพียงช่วยให้ลำไส้ทำงานได้สะดวกและป้องกันภาวะขาดน้ำเท่านั้น ทว่าน้ำยังช่วยรองรับความเสี่ยงกรณีลำไส้ไม่สามารถดูดซึมน้ำได้ตามปรกติ
สมอง ลำไส้ และร่างกายจะสมดุลได้เริ่มได้ด้วยการเลือกรับประทานอาหาร เมื่อทานดีเพียงพอย่อมรู้สึกอิ่มท้องเป็นสิ่งแรก การมีเกราะคุ้มกันโรคที่ดีจึงเป็นส่วนถัดมา จิตใจแจ่มใสคือส่วนที่สาม เมื่อรวมทุกอย่างไว้ก็สามารถมีสุขภาพที่ดีทั้งจากภายนอก.. และภายใน
อายุรแพทย์ทางเดินอาหาร