โรคสมองเสื่อม (Dementia) รู้ก่อน ตรวจโรคลึกร่วมป้องกันการสูญสลาย

March 28 / 2025

โรคสมองเสื่อม

 

 

 

     โรคสมองเสื่อม (Dementia) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานของสมองที่เสื่อมถอย ซึ่งส่งผลต่อควาจำ การคิดและการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน โดยทั่วไปมักเกิดในผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถเกิดในวัยอื่นได้ในบางกรณี

 

สาเหตุของโรคสมองเสื่อม

สาเหตุของโรคสมองเสื่อมอาจมากจากหลายปัจจัย และหลายสาเหตุสามารถรักษาให้หายหรือป้องกันการเกิดได้ ดังนี้

 

  • สมองเสื่อมจากวัยชรา
  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease)
  • ภาวะหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เช่น เลือดออกในสมอง หลอดเลือดสมองตีบ
  • ภาวะเลือดคั่งในสมองหรือเนื้องอกในสมอง
  • ภาวะขาดวิตามิน เช่น วิตามิน B12
  • การติดเชื้อในร่างกายซึ่งส่งผลกระทบต่อสมอง
  • การติดเชื้อที่สมองหรือเยื่อหุ้มสมอง
  • สมองเสื่อมจากการติดสุราเรื้อรังนาน ๆ
  • ภาวะที่เกิดตามหลังการขาดออกซิเจน

 

 

 

โรคสมองเสื่อม

 

 

 

TMAO หนึ่งสาเหตุทำลายสมอง

     TMAO (Trimethylamin N-oxine) คือสารที่ได้จากการย่อยอาหารบางชนิด เช่น เนื้อสัตว์และไขมัน เมื่อทานมากจึงเพิ่มโอกาสเสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบให้เกิดโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ตามมา เนื่องจาก TMAO มีส่วนกระตุ้นการอักเสบในระบบประสาท

 

  • กรณีของโรคอัลไซเมอร์ TMAO อาจกระตุ้นการสะสมของโปรตีนที่เป็นพิษในสมอง เช่น เบต้า-อะไมลอยด์  (Aβ : Beta Amyloid) และ Tau-protein ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคอัลไซเมอร์
  • กรณีโรคหลอดเลือดสมอง TMAO อาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้หลอดเลือดตีบและขัดขวางการไหลเวียนเลือดในสมอง

 

อ่านเพิ่มเติม : การดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์


 


เนื่องจาก TMAO เป็นหนึ่งตัวบ่อเกิดโรคที่สำคัญ แพทย์สามารถใช้เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงของโรค ซึ่งมีความไวและความจำเพาะ จึงให้ผลที่แม่นยำ


 

 

อาการของโรคสมองเสื่อม

     ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้ตัวว่าตนเองเป็น ทว่าคนใกล้ชิดหลายคนกลับสังเกตเห็นอาการและให้ข้อมูลแก่แพทย์ถึงความผิดปรกติทางสมองแบบค่อยเป็นค่อยไป บางครั้งผู้ป่วยปรากฏเป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งกว่า 30 เปอร์เซ็นต์พบว่ามีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมได้

 

 

 

โรคสมองเสื่อม

 

 

ระยะของโรคสมองเสื่อม

1. ระยะเริ่มต้น MCI (Mild Cognitive Impairment) 

     อีกชื่อคือภาวะการรับรู้ถดถอยเล็กน้อย เช่น ความจำ การคิด การตัดสินใจและการเรียนรู้สิ่งใหม่ ซึ่งกินเวลา 7 - 10 ปีและยังไม่ถือว่าเป็นโรคสมองเสื่อม

 

2.  ระยะสมองเสื่อมเล็กน้อย 

     ผู้ป่วยเริ่มมีอาการที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น หลงลืมข้อมูลสำคัญ  ไม่สามารถจดจ่อกับเรื่องที่ทำและอาจมีปัญหาในการวางแผนหรือจัดการงานที่ซับซ้อน เช่น ไม่สามารถทำบัญชีได้ 

 

3.  ระยะสมองเสื่อมปานกลาง

     ความเสื่อมถอยชัดเจนขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการทำงานหรือการเข้าสังคม เช่น หลงทาง มีปัญหาเรื่องการจดจำบุคคลรอบตัว ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในระยะนี้ควรได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่นในกิจวัตรประจำวัน

 

4.  ระยะสมองเสื่อมรุนแรง

     สมองส่วนท้ายทอยที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น (Occipital Lobe) เสื่อมลง ผู้ป่วยจะสูญเสียการมองเห็นหรือการระลึกรู้  ทำให้ไม่สามารถแต่จดจำญาติพี่น้องหรือคนใกล้ชิดของตัวเอง บางคนอาจมองไม่เห็น การรับรู้ผิดเพี้ยน เช่น มองเห็นภาพภาพหลอนร่วม 

 

อ่านเพิ่มเติม: 5 สัญญาณบ่งอาการโรคสมองเสื่อม ขี้ลืมบ่อย ความจำเสื่อม

 

 

โรคสมองเสื่อม

 

 

การวินิจฉัยโรคสมองเสื่อม

1. การตรวจประเมินเบื้องต้น

  • การตรวจคัดกรองภาวะสมองเสื่อม แพทย์จะใช้แบบทดสอบเพื่อตรวจประเมินความจำ การคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจ เช่น MMSE (Mini-Mental State Examination) หรือ MoCA (Montreal Cognitive Assessment) โดยแพทย์อาจเริ่มจากชุดคำถามตัวอย่าง เช่น การจดจำคำ การบอกวันที่ปัจจุบัน การวาดภาพ
  • การซักประวัติ หลังจากนั้นจึงซักประวัติผู้ป่วยและคนในครอบครัวร่วม โดยเริ่มถามถึงปัญหาที่ผู้ป่วยเผชิญ เช่น ลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น หลงทาง หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
  • การตรวจภาวะซึมเศร้า แพทย์จะใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าตามดุลยพินิจ เช่น PHQ-9, GDS เนื่องจากมีลักษณะอาการคล้ายโรคสมองเสื่อม เช่น การขาดสมาธิ ความจำลดลง
  • การตรวจร่างกาย ทั้งการตรวจสอบระบบประสาทร่วมกับภาวะอื่นอย่างละเอียด เช่น ภาวะขาดน้ำ ภาวะติดเชื้อ การขาดสารอาหาร

 

 

 

โรคสมองเสื่อมโรคสมองเสื่อมโรคสมองเสื่อม

 

 

 

2. การตรวจภายในห้องปฏิบัติการ

     เนื่องด้วยเทคโนโลยีการแพทย์สมัยใหม่ ทำให้แพทย์สามารถคัดแยกโรคอัลไซเมอร์จากโรคสมองเสื่อมชนิดอื่นและค้นหาภาวะที่สามารถรักษาได้อย่างละเอียด เช่น ขาดวิตามิน เบาหวาน ไขมัน โรคติดเชื้อ P-tau ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผิดปรกติในสมองของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หากพบก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อม Alzheimer

 

 

 

โรคสมองเสื่อมโรคสมองเสื่อม

 

 

3. การตรวจด้วยภาพระบบประสาท (Neuroimaging)

  • การตรวจด้วยเทคโนโลยี MRI ใช้ตรวจการฝ่อลีบของสมองโดยเฉพาะส่วนฮิปโปแคมปัสและส่วนกลีบขมับ (Temporal lobe) ทั้งยังช่วยค้นหาความผิดปรกติอื่น เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกหรือการบาดเจ็บของสมอง
  • การตรวจ PET Scan เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับวินิจฉัยอาการสมองเสื่อมในระยะเริ่ม แพทย์จะใช้สารติดตามเพื่อตรวจการสะสมของโปรตีนในสมอง เพื่อคัดแยกโรคอัลไซเมอร์จากโรคสมองเสื่อมชนิดอื่น
  • การตรวจ SPECT ใช้ตรวจดูการไหลเวียนเลือดในสมองเพื่อประเมินว่าสมองส่วนใดทำงานลดลง

 

 

อ่านเพิ่มเติม: การวินิจฉัยและการตรวจหาสาเหตุของโรคสมองเสื่อม

 

 

 

โรคสมองเสื่อมโรคสมองเสื่อม

 

 

โรคสมองเสื่อม แท้หรือเทียมแยกอย่างไร

     หากเป็นผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเทียมจะยังคงรู้ตัวและบอกแพทย์โดยตรงว่าตัวเองหลงลืมง่ายและวิตกกังวลว่าตนจะเป็นโรคสมองเสื่อม อย่างไรก็ตาม แพทย์จำเป็นต้องตรวจแยกโรคสมองเสื่อมเทียม ซี่งอาการที่พบบ่อย ได้แก่ ภาวะเครียด นอนไม่หลับ ภาวะวิตก โรคซึมเศร้าและโรคจิตประสาทอื่น ซึ่งทำให้ความคิดอ่านไม่ปรกติ

 

แนวทางรักษาโรคสมองเสื่อม

เมื่อได้รับผลวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะวางแผนการรักษาที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วย เช่น ยา การฟื้นฟูสมอง การช่วยเหลือของครอบครัวควบคู่กับการดูแลสุขภาพของเราให้ดี เช่น

 

  • ควบคุมความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอย่างสม่ำเสมอ
  • ไม่สูบบุหรี่ ดื่มสุราและสารเสพติด เนื่องจากมีฤทธิ์ทำลายก้านสมองที่ควบคุมการทรงตัว
  • พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน และแปรงฟันให้ถูกวิธี เพื่อป้ิองกันเชื้อแบคทีเรียทำร้ายหลอดเลือดสมองและหัวใจ
  • เพิ่มการทานผัก ผลไม้และเนื้อสีขาวทดแทนการทานเนื้อสีแดง เช่น เนื้อปลา ไข่
  • ระมัดระวังการล้ม เช่น เลือกรองเท้าสวมกระชับหุ้มปลายเท้าพร้อมสวมถุงเท้ากันล้ม
  • ทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ มีความรัก ความเข้าใจ ความอบอุ่นในครอบครัว 

 

 

โรคสมองเสื่อมโรคสมองเสื่อมโรคสมองเสื่อม

 


 


รู้จักยอมรับสภาพตามความเป็นจริงและไม่เคร่งเครียดเกินไป เพียงเท่านี้ก็สามารถทำให้ชีวิตมีความสุขได้ระดับหนึ่ง


 

 

 

สล็อต